การประเมินผลกระทบสารกำจัดวัชพืชพาราควอตตกค้างในไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่อสุขภาพเกษตรกร - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2564 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=42) +--- เรื่อง: การประเมินผลกระทบสารกำจัดวัชพืชพาราควอตตกค้างในไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่อสุขภาพเกษตรกร (/showthread.php?tid=2870) |
การประเมินผลกระทบสารกำจัดวัชพืชพาราควอตตกค้างในไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่อสุขภาพเกษตรกร - doa - 10-28-2022 การประเมินผลกระทบสารกำจัดวัชพืชพาราควอตตกค้างในไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ต่อสุขภาพเกษตรกร ปภัสรา คุณเลิศ, สิริพร เหลืองสุชนกุล, ประกิจ จันทร์ติ๊บ และมลิสา เวชยานนท์ กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ประเมินผลกระทบของสารกำจัดวัชพืชพาราควอต (paraquat) ตกค้างในไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทำการประเมินความเสี่ยงจากสารกำจัดวัชพืช paraquat ตกค้างในน้ำ และดิน ที่มีผลต่อสุขภาพของเกษตรกร ระหว่างเดือนตุลาคม 2562 ถึงเดือนกันยายน 2563 ได้ศึกษาระดับครัวเรือน โดยเลือกอำเภอที่เกษตรกรมีอาชีพปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเชิงพาณิชย์ ในพื้นที่อำเภอหนองหม่วง จังหวัดลพบุรี อำเภอพุทธบาท และอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ใช้วิธีสัมภาษณ์เกษตรกร จำนวน 58 ราย โดยคัดเลือกตัวอย่างเกษตรกรแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 26 ราย ใช้วิธีการสำรวจ สุ่มเก็บตัวอย่าง น้ำ และดิน ร่วมกับการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ประเมินความเสี่ยงสารพิษตกค้าง ด้วยค่าดัชนีบ่งชี้อันตราย (Hazard quotient, HQ) และประเมินผลกระทบของสารกำจัดวัชพืช paraquat ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยค่าดัชนีบ่งชี้อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม (Risk Quotient (RQ) โดยสุ่มเก็บตัวอย่าง น้ำ และดิน รวมทั้งหมด 38 ตัวอย่าง ประกอบด้วยน้ำ 12 ตัวอย่าง และดิน 26 ตัวอย่าง ในฤดูฝน ช่วงเดือนกรกฎาคมมาตรวจวิเคราะห์หาสารพิษตกค้างด้วยเครื่อง Spectrophotometer และ Ultra-High Performance Liquid Chromatograph (UHPLC) ผลการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณ paraquat พบสารตกค้าง 26 ตัวอย่าง (68%) ในน้ำไม่พบการตกค้างในทุกตัวอย่าง ในดิน ตรวจพบสาร paraquat ในทุกตัวอย่าง ปริมาณ 1.42 – 11.51 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จากแปลงข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในอำเภอพุทธบาทจังหวัดสระบุรี นำมาประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพด้วยค่า HQ ในช่วงอายุ 6 – 12 ปี ได้ค่าสูงสุดเท่ากับ 1.53 x 10(-2) และช่วงอายุ 70 ปี ได้ค่าสูงสุดเท่ากับ 3.93 x 10(-3) ซึ่งมีค่าน้อยกว่า 1 อยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้ และทำการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยค่า RQ มีค่าเท่ากับ 1.42 x 10(-2)– 1.15 x 10(-1) มีค่าน้อยกว่า 1 อยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้ สรุปได้ว่าการใช้สารกำจัดวัชพืช paraquat ไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพของเกษตรกร และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
คำหลัก: การประเมินผลกระทบ สารกำจัดวัชพืชพาราครอต ดิน น้ำ สุขภาพ |