ศึกษารูปแบบการจัดการดินเพื่อการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในระบบเกษตรอินทรีย์ในกลุ่มดินเหนียว - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2564 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=42) +--- เรื่อง: ศึกษารูปแบบการจัดการดินเพื่อการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในระบบเกษตรอินทรีย์ในกลุ่มดินเหนียว (/showthread.php?tid=2833) |
ศึกษารูปแบบการจัดการดินเพื่อการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในระบบเกษตรอินทรีย์ในกลุ่มดินเหนียว - doa - 10-26-2022 ศึกษารูปแบบการจัดการดินเพื่อการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในระบบเกษตรอินทรีย์ในกลุ่มดินเหนียว รมิดา ขันตรีกรม, สรัตนา เสนาะ, กัลยกร โปร่งจันทึก, อำนาจ เอี่ยมวิจารณ์, เพทาย กาญจนเกสร, ผกาสินี คล้ายมาลา และสุรเชษฐ์ นาราภัทร์ กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครปฐม และกรมพัฒนาที่ดิน ศึกษารูปแบบการจัดการดินเพื่อการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในระบบอินทรีย์ในกลุ่มดินเหนียว : ชุดดินเสนา ณ แปลงเกษตรกร จังหวัดนครปฐม วัตถุประสงค์เพื่อได้รูปแบบการจัดการดินเพื่อผลิตข้าวโพดฝักอ่อนให้มีประสิทธิภาพในระบบอินทรีย์ ปี 2559 - 2564 วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block (RCB) 5 กรรมวิธี 4 ซ้ำ ประกอบด้วย 1) ฤดูฝนปลูกข้าวโพดฝักอ่อนไม่ใส่ปุ๋ยฤดูแล้งไม่ปลูกถั่วเขียว 2) ฤดูฝนปลูกข้าวโพดฝักอ่อนไม่ใส่ปุ๋ย ฤดูแล้งปลูกถั่วเขียว 3) ฤดูฝนปลูกข้าวโพดฝักอ่อนใส่ปุ๋ยหมัก ฤดูแล้งปลูกถั่วเขียว 4) ฤดูฝนปลูกข้าวโพดฝักอ่อนใส่ปุ๋ยพีจีพีอาร์ วันฤดูแล้งปลูกถั่วเขียว 5) ฤดูฝนปลูกข้าวโพดฝักอ่อนใส่ปุ๋ยหมัก ร่วมด้วยปุ๋ยพีจีพีอาร์ วัน ฤดูแล้งปลูกถั่วเขียว อัตราการใส่ปุ๋ยหมักเทียบเคียงปริมาณธาตุอาหารที่เป็นองค์ประกอบในปุ๋ยหมักกับคำแนะนำการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินของข้าวโพดฝักอ่อน การใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมและพีจีพีอาร์ วัน โดยการคลุกเมล็ดพืชก่อนปลูก และทุกกรรมวิธีที่ปลูกถั่วเขียวใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม ทำการไถกลบต้นข้าวโพดฝักอ่อนและต้นถั่วเขียวหลังการเก็บเกี่ยว ผลการทดลอง พบว่า กรรมวิธีที่ 5 ปลูกข้าวโพดฝักอ่อนใส่ปุ๋ยหมัก อัตรา 1,200 กิโลกรัมต่อไร่ โดยน้ำหนักแห้ง ร่วมกับปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ วัน และในฤดูแล้งปลูกถั่วเขียวร่วมกับปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม ผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อนและถั่วเขียวเฉลี่ยสูงที่สุด และให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจคุ้มค่า ผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อน (ฝักสดทั้งเปลือก) เฉลี่ยเท่ากับ 1,470 กิโลกรัมต่อไร่ และผลผลิตถั่วเขียวเฉลี่ยเท่ากับ 150 กิโลกรัมต่อไร่ หลังจากเก็บเกี่ยวถั่วเขียวและข้าวโพดฝักอ่อนมีการไถกลบต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 6 ปี ทำให้ปริมาณอินทรียวัตถุในกรรมวิธีที่ 3 และ 5 มีปริมาณเพิ่มขึ้น ส่วนปริมาณฟอสฟอรัส และปริมาณโพแทสเซียมจะเพิ่มขึ้นในปีที่ 3
คำสำคัญ: เกษตรอินทรีย์ การจัดการดิน ข้าวโพดฝักอ่อนอินทรีย์ |