คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ตากฟ้า 8 : ฝ้ายเส้นใยสีน้ำตาล ทนทานเพลี้ยจักจั่น อายุเก็บเกี่ยวสั้น - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2564 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=42)
+--- เรื่อง: ตากฟ้า 8 : ฝ้ายเส้นใยสีน้ำตาล ทนทานเพลี้ยจักจั่น อายุเก็บเกี่ยวสั้น (/showthread.php?tid=2822)



ตากฟ้า 8 : ฝ้ายเส้นใยสีน้ำตาล ทนทานเพลี้ยจักจั่น อายุเก็บเกี่ยวสั้น - doa - 10-12-2022

ตากฟ้า 8 : ฝ้ายเส้นใยสีน้ำตาล ทนทานเพลี้ยจักจั่น อายุเก็บเกี่ยวสั้น
พยุดา จันทร์เกื้อ, ปริญญา สีบุญเรือง, อมรา ไตรศิริ, ศิวิไล ลาภบรรจบ, วรกานต์ ยอดชมภู, พรพรรณ สุทธิแย้ม, ศุภกาญจน์ ล้วนมณี, ดาวรุ่ง คงเทียน, ปรีชา แสงโสดา, สมใจ โควสุรัตน์, จุฑามาศ ศรีสำราญ, พิกุล ซุนพุ่ม, นิมิตร วงศ์สุวรรณ, เพ็ญรัตน์ เทียมเพ็ง, พรรณพิมล สุริยะพรหมชัย และกัลยา เกาะกากลาง
ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์, ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่, กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรราชบุรี, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเลย, ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสกลนคร, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมุกดาหาร, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบูรณ์, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลำปาง

          ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ วิจัยและปรับปรุงพันธุ์ฝ้าย เพื่อให้ได้พันธุ์ที่มีเส้นใยสั้นสีน้ำตาล ผลผลิตสูง ต้านทานโรค ทนทานต่อแมลงศัตรูฝ้าย และมีอายุเก็บเกี่ยวสั้น ดำเนินการพัฒนาพันธุ์ตั้งแต่ ปี 2549 ด้วยการนำพันธุ์ AKH4 ที่ใช้เป็นพันธุ์แม่ ซึ่งมีเส้นใยสีขาว ผลผลิตสูง และอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ไปผสมข้ามกับพันธุ์พ่อ ตากฟ้า 3 ซึ่งมีเส้นใยสั้นสีน้ำตาล และต้านทานต่อโรคใบหงิก ทำการคัดเลือกแบบ Mass selection และ Pedigree selection ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ระหว่างปี 2551 - 2555 ประเมินผลผลิตและศึกษาข้อมูลจำเพาะ ระหว่างปี 2556 - 2562 พบว่าพันธุ์ตากฟ้า 8 เส้นใยสั้นสีน้ำตาล ให้ผลผลิตเฉลี่ย 154 กิโลกรัมต่อไร่ มากกว่าพันธุ์ตากฟ้า 3 ร้อยละ 34 ต้านทานต่อโรคใบหงิก และทนทานต่อการเข้าทำลายของเพลี้ยจักจั่นฝ้ายในสภาพปลอดจากการใช้สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูฝ้าย ตลอดจนมีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นกว่าพันธุ์ตากฟ้า 3 การนำไปใช้ประโยชน์ ได้นำฝ้ายพันธุ์ตากฟ้า 8 ไปถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เกษตรกรผู้ปลูกฝ้าย และต่อยอดความรู้ด้านการสร้างผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งผลักดันให้เกิดกลุ่มผู้ปลูกและผลิตหัตถกรรมสิ่งทอครบวงจรในชุมชนโดยเฉพาะ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือผ่านโครงการฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ เช่น โครงการเทคโนโลยี การผลิตฝ้ายและคราม เสริมสร้างอัตลักษณ์ผ้าทอมืออีสานสร้างสรรค์เศรษฐกิจชุมชน เพื่อรองรับการผลิตหัตถกรรมสิ่งทอในท้องถิ่น

คำสำคัญ: ฝ้าย เส้นใยสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่น โรคใบหงิก อายุเก็บเกี่ยวสั้น