คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีกรมวิชาการเกษตรสู่มือเกษตรกรอีสานล่าง - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2563 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=41)
+--- เรื่อง: เทคโนโลยีกรมวิชาการเกษตรสู่มือเกษตรกรอีสานล่าง (/showthread.php?tid=2799)



เทคโนโลยีกรมวิชาการเกษตรสู่มือเกษตรกรอีสานล่าง - doa - 10-11-2022

เทคโนโลยีกรมวิชาการเกษตรสู่มือเกษตรกรอีสานล่าง
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 4

          ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ทำการเกษตรสูงสุดในประเทศ คือ ร้อยละ 41 ของพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศ ได้แก่ ข้าว และมันสำปะหลัง มีพื้นที่การผลิตกว่าร้อยละ 34 และ 32 ตามลำดับ แต่มีสัดส่วนการผลิตด้านเกษตรเพียงร้อยละ 26 ของผลผลิตการเกษตรกรรม และมีการขยายตัวของผลผลิตด้านการเกษตรต่ำสุด นอกจากนี้ยังมี 2 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีรายได้ต่อหัวประชากรต่ำที่สุดเป็นอันดับ 8 และ 9 ของประเทศ ซึ่งส่วนหนึ่งของความยากจนของเกษตรกรมาจากสินค้าเกษตรเหล่านี้มีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่ปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ย สารเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง และค่าแรงงานกลับสูงขึ้น อีกทั้งสภาวะภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง และการระบาดของศัตรูพืช ทำให้ผลผลิตพืชตกต่ำและเสียหาย เนื่องจากขาดเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสม หรือบางชนิดมีงานวิจัยรองรับเรียบร้อยแล้วแต่ยังขาดการนำเทคโนโลยีไปทดสอบและขยายผลในพื้นที่ของเกษตรกร ส่งผลกระทบทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมการให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมได้เพิ่มขึ้น ช่วยให้เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้ หรือลดการใช้สารเคมี ซึ่งจะสามารถสร้างรายได้สู่ชุมชน เกิดการสร้างงานจากการผลิตที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากการสร้างมาตรฐาน และการแปรรูปให้เกิดผลิตภัณฑ์ เกิดการรวมกลุ่มที่เข้มแข็งในรูปแบบของชุมชนที่พัฒนาตนเองและส่งมอบเทคโนโลยี พืชเศรษฐกิจหลัก พืชท้องถิ่น พืชสมุนไพรและพืชหลังนาสู่ชุมชนอื่นเพื่อสร้างความเข้มแข็งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง นอกจากนี้ในพืชท้องถิ่นยังศึกษาเพื่อให้สามารถหาสารสำคัญ และอัตลักษณ์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มได้อีกอย่างหนึ่ง การสร้างกระบวนการผลิตใหม่ ผลิตภัณฑ์ใหม่เหล่านี้จะสามารถสร้างให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม