การประกาศชนิดพืชเพิ่มเติมให้พันธุ์พืชใหม่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2563 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=41) +--- เรื่อง: การประกาศชนิดพืชเพิ่มเติมให้พันธุ์พืชใหม่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 (/showthread.php?tid=2791) |
การประกาศชนิดพืชเพิ่มเติมให้พันธุ์พืชใหม่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 - doa - 10-11-2022 การประกาศชนิดพืชเพิ่มเติมให้พันธุ์พืชใหม่สามารถรับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 มีเจตนารมณ์เพื่อส่งเสริม กระตุ้น สร้างแรงจูงใจให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์พืชใหม่ ด้วยการให้สิทธิคุ้มครองตามกฎหมายแก่นักปรับปรุงพันธุ์พืช และยังส่งเสริมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปและพันธุ์พืชป่า เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแล บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์พันธุ์พืชอย่างยั่งยืน
มาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 กำหนดให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืช มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดชนิดพืชให้นักปรับปรุงพันธุ์พืชสามารถนำพันธุ์พืชที่ปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาใหม่มาจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ตามกฎหมายได้ โดยพิจารณาเลือกจากชนิดพืชที่มีผู้แจ้งความประสงค์ให้ประกาศเพิ่มเติม พืชที่มีความสำคัญและโอกาสเติบโตทางเศรษฐกิจพืชที่มีนักปรับปรุงพันธุ์พืชของไทยทำการปรับปรุงพันธุ์ และพืชที่มีพันธุ์พืชพื้นเมืองให้เกษตรกรเลือกใช้
มีผู้แจ้งความประสงค์ขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนดชนิดพืชที่พันธุ์พืชใหม่สามารถขอรับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. ๒๕๔๒ จำนวน 7 ราย 7 ชนิดพืช กรมวิชาการเกษตรในฐานะเลขานุการคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืช จึงนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ และคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์พืช เพื่อมีมติเห็นชอบเสนอพืช จำนวน 7 รายการ ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้เป็นชนิดพืชที่พันธุ์พืชใหม่สามารถขอรับความคุ้มครองตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542
หลังจากที่ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาแล้ว จะมีผลบังคับใช้ส่งผลให้นักปรับปรุงพันธุ์พืช ทั้งภาครัฐภาคเอกชน หรือนักปรับปรุงพันธุ์พืชอิสระ สามารถนำพันธุ์ใหม่ที่ปรับปรุงพันธุ์ได้ มายื่นขอรับความคุ้มครองตามกฎหมาย พืชที่ถูกเสนอให้ประกาศเพิ่มเติมมีดังต่อไปนี้
|