คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การพัฒนาและตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์สารพิษตกค้าง chlorothalonil ในผักและผลไม - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2562 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=40)
+--- เรื่อง: การพัฒนาและตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์สารพิษตกค้าง chlorothalonil ในผักและผลไม (/showthread.php?tid=2784)



การพัฒนาและตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์สารพิษตกค้าง chlorothalonil ในผักและผลไม - doa - 09-02-2020

การพัฒนาและตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์สารพิษตกค้าง  chlorothalonil ในผักและผลไม้
จินตนา ภู่มงกุฎชัย, พนิดา ไชยยันต์บูรณ์ และสุพัตรี หนูสังข์
กลุ่มวิจัยวัตถุมีพิษการเกษตร กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร


          การพัฒนาและตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์สารพิษตกค้าง chlorothalonil ในผักและผลไม้ระหว่าง เดือนตุลาคม 2556 – กันยายน 2558 ได้พัฒนาจากการทดสอบวิธีการตรวจวิเคราะห์ระหว่าง Steinwandter กับ QuEChERS และในมะม่วงและผักคะน้า โดยเปรียบเทียบการตรวจวิเคราะห์สารมาตรฐานในสารสกัดตัวอย่าง (matrix) โดยใช้ GC–ECD LC–MS/MS และ GC-MS/MS พบว่าวิธี QuEChERS ให้ผลการทดสอบที่ดีกว่าวิธี Steinwandter ซึ่งวิธี QuEChERS ใช้สารเคมีน้อยและประหยัดเวลา สาร matrix ของมะม่วงให้ sensitivity ที่ดีกว่า matrix ของคะน้าและเครื่องตรวจวิเคราะห์ที่เหมาะสม คือ GC-MS/MS การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีการวิเคราะห์ด้วยวิธี QuEChERS ซึ่งใช้วิธีตาม EN 15662 (2008) chlorothalonil ในตัวอย่างมะม่วงโดยเทคนิค GC–MS/MS สรุปผลดังนี้ linearity ของ calibration curve ของสารละลายมาตรฐาน chlorothalonil อยู่ในช่วงที่ความเข้มข้น 0.01 – 0.5 ไมโครกรัมต่อมิลลิตร และมี matrix effect เมื่อเปรียบเทียบ calibration curve ของ chlorothalonil ที่เตรียมใน acetonitrile กับเตรียม ด้วย matrix มะม่วง ดังนั้นการหาปริมาณต้องเตรียมใน matrix ที่เรียกว่า matrix match calibration curve การทดสอบ accuracy และ precision ที่ความเข้มข้น 0.01 – 0.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม พบว่าอยู่ในเกณฑ์การยอมรับได้โดยมี %recovery ในช่วง 90 – 105 เปอร์เซ็นต์ และ %RSD ในช่วง 3 – 11 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์กำหนด คือ %recovery ในช่วง 70 – 120 เปอร์เซ็นต์ และ %RSD < 20 เปอร์เซ็นต์ ส่วน linearity of working range ของวิธีตรวจวิเคราะห์ ในช่วง 0.01 – 0.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม LOQ = 0.01 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และ LOD = 0.005 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม วิธีการนี้สามารถนำไปขอเพิ่มการรับรองห้องปฏิบัติการตามระบบ ISO/IEC 17025 ใช้เป็นวิธีมาตรฐานและถ่ายทอดให้ ห้องปฏิบัติการในส่วนภูมิภาคใช้ต่อไป