ชีววิทยาของไรแดงมันสำปะหลัง (Cassava Red Mite); Oligonychus biharensis (Hirst) - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2561 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=34) +--- เรื่อง: ชีววิทยาของไรแดงมันสำปะหลัง (Cassava Red Mite); Oligonychus biharensis (Hirst) (/showthread.php?tid=2765) |
ชีววิทยาของไรแดงมันสำปะหลัง (Cassava Red Mite); Oligonychus biharensis (Hirst) - doa - 10-21-2019 ชีววิทยาของไรแดงมันสำปะหลัง (Cassava Red Mite); Oligonychus biharensis (Hirst) อัจฉราภรณ์ ประเสริฐผล, พิเชฐ เชาวน์วัฒนวงศ์, พลอยชมพู กรวิภาสเรือง และอทิติยา แก้วประดิษฐ์ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ไรแดงมันสำปะหลัง Oligonychus biharensis (Hirst) เป็นศัตรูสาคัญในมันสำปะหลัง ซึ่งยังไม่มีข้อมูลชีววิทยาของไรชนิดนี้ในประเทศไทย การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวงจรชีวิตของไรแดงมันสำปะหลัง O. biharensis บนใบพืชอาศัย 2 ชนิด ได้แก่ มันสำปะหลัง และชมพู่ ดำเนินการทดลองระหว่างเดือนตุลาคม 2559 – กันยายน 2561 ในห้องปฏิบัติการ ที่อุณหภูมิ 26.49 ± 0.07 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60.04 ± 0.86%RH และให้ได้รับแสงวันละ 10 ชั่วโมง ผลการทดลองพบว่า ระยะเวลาในการเจริญเติบโตตั้งแต่ไข่จนเป็นตัวเต็มวัยของไรแดงมันสำปะหลัง O. biharensis บนมันสำปะหลังและชมพู่ เฉลี่ยนาน 7.16 ± 0.04 และ 9.78 ± 0.06 วัน ตามลำดับ ตัวเต็มวัยเพศเมียมีอายุยืนยาวเฉลี่ย 13.19 ± 0.76 และ 7.34 ± 0.44 วัน ตามลำดับ ตัวเต็มวัยเพศเมียระยะก่อนวางไข่เฉลี่ย 1.16 ± 0.06 และ 2.04 ± 0.02 วัน ระยะวางไข่เฉลี่ย 12.21 ± 0.76 และ 4.65 ± 0.39 วัน และระยะหลังวางไข่เฉลี่ยนาน 0.49 ± 0.11 และ 0.65 ± 0.12 วัน ตามลำดับ ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่ได้ทั้งหมดประมาณ 92.95 ± 5.19 และ 44.58 ± 4.03 ฟองต่อตัว เฉลี่ยวันละ 7.10 ± 0.30 และ 4.94 ± 0.34 ฟองต่อวัน ตามลำดับ อัตราการขยายพันธุ์สุทธิในชั่วอายุขัย (R0) ชั่วอายุขัยของกลุ่ม (G) ผลิตลูกได้สุทธิต่อวัน (λ) และอัตราส่วนเพศของไรแดงมันสำปะหลังบนมันสำปะหลังมีค่ามากกว่าบนชมพู่ อัตราการเพิ่มประชากร (rm) ของไรแมงมุมบนมันสำปะหลัง และชมพู่นั้นใกล้เคียงกัน 0.26 และ 0.22 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า ประชากรของไรแดงมันสำปะหลังที่ลงทาลายบนมันสำปะหลัง สามารถเพิ่มประชากรได้ดี และระบาดอย่างรวดเร็วกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับประชากรที่ลงทาลายบนชมพู่ เนื่องจากมีวงจรชีวิตสั้น ตัวเต็มวัยเพศเมียมีอายุยืนยาว ระยะวางไข่ยาว และตัวเต็มวัยเพศเมียสามารถวางไข่เฉลี่ยต่อวันได้ปริมาณมาก ซึ่งผลการทดลองนี้สามารถนาไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการป้องกันกาจัดไรแดงชนิดนี้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังเป็นข้อมูลสนับสนุนในการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช Pest Risk Analysis (PRA) เพื่อประโยชน์ในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศในอนาคต |