การศึกษาอนุกรมวิธานตัวอ่อนแมลงวันผลไม้เผ่า Dacini (Diptera: Tephritidae) - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2561 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=34) +--- เรื่อง: การศึกษาอนุกรมวิธานตัวอ่อนแมลงวันผลไม้เผ่า Dacini (Diptera: Tephritidae) (/showthread.php?tid=2741) |
การศึกษาอนุกรมวิธานตัวอ่อนแมลงวันผลไม้เผ่า Dacini (Diptera: Tephritidae) - doa - 10-18-2019 การศึกษาอนุกรมวิธานตัวอ่อนแมลงวันผลไม้เผ่า Dacini (Diptera: Tephritidae) ร่วมกับการใช้เทคนิค Morphometric ในตัวเต็มวัย วรินทร์ บุญทบ, ชมัยพร บัวมาศ, เกศสุดา สนสิริ, จอมสุรางค์ ดวงธิสาร และสิทธิศิโรดม แก้วสวัสดิ์ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช แมลงวันผลไม้เผ่า Dacini ซึ่งเป็นศัตรูพืชมีความสำคัญทางเศรษฐกิจและด้านกักกันพืชที่สำคัญ ตัวอ่อนแมลงวันผลไม้สร้างความเสียหายให้กับการนำเข้าและส่งออกผัก ผลไม้ทั่วโลก และยากในการจำแนกชนิดด้วยลักษณะสัณฐานวิทยาภายนอก การศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาอนุกรมวิธานตัวอ่อนแมลงวันผลไม้ร่วมกับเทคนิคมอร์โฟเมตริกเพื่อช่วยจำแนกชนิดแมลงวันผลไม้เผ่า Dacini ให้ถูกต้องแม่นยำและรวดเร็วมากขึ้น โดยรวบรวมตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยพร้อมทั้งจัดทำแนวทางวินิจฉัยตัวอ่อนแมลงวันผลไม้ในเผ่า Dacini จำนวน 6 ชนิด ได้แก่ B. correcta, B. latifrons, B. dorsalis, B. umbrosa, Z. cucurbitae และ Z. tau และจากการศึกษา morphometric ปีกแมลงวันผลไม้ 10 ชนิด ได้แก่ B. carambolae, B. cilifera, B. correcta, B. dorsalis, B. latifrons, B. umbrosa, B. tuberculata, B. zonata, Z. cucurbitae และ Z. tau พบว่าขนาดเซนทรอยด์มีความความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P > 0.05) โดยพบว่า B. latifrons มีขนาดเซนทรอยด์เล็กสุด (5.533 ± 0.401) และ B. tuberculata มีขนาดใหญ่สุด (6.377 ± 0.306) และจากการศึกษารูปร่างของปีกด้วย Canonical variate analysis พบความแตกต่างระหว่างสกุล โดยรูปร่างปีกแมลงวันผลไม้ในสกุล Zeugodacus นั้นแยกออกมาจากสกุล Bactrocera อย่างชัดเจน และแมลงวันผลไม้ในสกุลเดียวกันจะมีรูปร่างของปีกคล้ายกันมากกว่าต่างสกุล การศึกษาครั้งนี้เป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่ได้ทำแนวทาง การจำแนกชนิดที่ใช้ง่าย สะดวก ประหยัดเวลาในการจำแนกตัวอ่อนแมลงวันผลไม้เผ่า Dacini อย่างไรก็ตามควรมีการ ศึกษาด้านชีวโมเลกุลเพื่อจำแนกความแตกต่างระหว่างชนิดของตัวอ่อนแมลงวันผลไม้ชนิดอื่นๆ เพิ่มเติมในอนาคต |