ชีววิทยาและการแพร่กระจายของพืชต่างถิ่น : หญ้ายางนงนุช - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2561 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=34) +--- เรื่อง: ชีววิทยาและการแพร่กระจายของพืชต่างถิ่น : หญ้ายางนงนุช (/showthread.php?tid=2736) |
ชีววิทยาและการแพร่กระจายของพืชต่างถิ่น : หญ้ายางนงนุช - doa - 10-18-2019 ชีววิทยาและการแพร่กระจายของพืชต่างถิ่น : หญ้ายางนงนุช ธัญชนก จงรักไทย, อัณศยา พรมมา และเอกรัตน์ ธนูทอง กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช หญ้ายางนงนุช (Euphorbia graminae) มีถิ่นกำเนิดในแม็กซิโก และเขตร้อนของอเมริกาพบครั้งแรกในพื้นที่ปลูกไม้ประดับนำเข้าจากต่างประเทศ หญ้ายางนงนุชมีการเจริญเติบโตที่ดี โดยไม่มีการทำลายของศัตรูพืช การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรุกรานในประเทศไทย โดยทำการทดลองระหว่างเดือนตุลาคม 2559 - กันยายน 2561 ภายใต้สภาพโรงเรือน และห้องปฏิบัติการ และการสารวจในพื้นที่ทำการเกษตร สวนสาธารณะ หรือสวนหย่อมที่มีการปลูกไม้นำเข้า โดยศึกษาชีววิทยา การงอก การเจริญเติบโต และการผลิตเมล็ด ณ ห้องปฏิบัติการ และโรงเรือน กลุ่มวิจัยวัชพืช สานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ผลการทดลองพบว่า พบการแพร่กระจายของหญ้ายางนงนุช 2 แห่ง ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดชลบุรี พื้นที่ปลูกไม้ประดับที่มีการนำเข้าจากต่างประเทศโดยหญ้ายางนงนุชมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูงถึง 92 เปอร์เซ็นต์ ภายใต้อุณภูมิห้อง ที่ระยะเวลาเพียง 5 วันหลังเพาะ ในห้องปฏิบัติการ และมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูงถึง 95 เปอร์เซ็นต์ ในกระถาง ที่ระยะเวลาเพียง 17 วันหลังปลูก ออกดอกครั้งแรกที่ระยะ 24 วันหลังงอก และเริ่มติดผลที่ระยะ 4 วันหลังดอกบาน ผลแก่ที่ระยะ 14 วันหลังติดผล ซึ่งครบวงจรชีวิตเพียง 42 วัน และหญ้ายางนงนุชสามารถมีอายุถึง 162 วัน สามารถผลิตเมล็ดได้ 2,300 - 3,300 เมล็ดต่อต้น การศึกษาผลทำงอะลิโลพาธิเบื้องต้นพบว่า ใบแห้ง 0.01 กรัม สามารถยับยั้งความยาวราก และยอดของไมยราบยักษ์ได้ 92 และ 63 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ทั้งนี้หญ้ายางนงนุชสามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกพื้นที่ที่พบ ผลการทดลองด้านชีววิทยาทำให้ทราบว่า 1 ต้น สามารถผลิตเมล็ดได้ 97×10(10) เมล็ดต่อปี โดยเมล็ดไม่มีการพักตัว และสามารถงอกได้ทันทีหลังสุกแก่ ทั้งนี้ใบมีสารอะลิโลพาธิ และไม่มีศัตรูธรรมชาติ สามารถเจริญเติบโตได้ทุกฤดู |