การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเขตกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังและสร้างเครือข่ายเกษตรกร - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2561 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=34) +--- เรื่อง: การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเขตกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังและสร้างเครือข่ายเกษตรกร (/showthread.php?tid=2712) |
การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเขตกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังและสร้างเครือข่ายเกษตรกร - doa - 06-05-2019 การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านเขตกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังและสร้างเครือข่ายเกษตรกร ปีที่ 2 สุกิจ รัตนศรีวงษ์ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลัง และสร้างเครือข่ายเกษตรกร เพื่อยกระดับผลผลิตมันสำปะหลังในพื้นที่เป้าหมายรวม 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี ขอนแก่น และกำแพงเพชร โดยทำงานแบบบูรณาการทั้งภาคเอกชน ได้แก่ โรงแป้ง บริษัทไทยคลอลิตี้สตาร์ช จำกัด ในพื้นที่บ้านอ่างหินพัฒนา ตำบลวังไผ่ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี โรงแป้ง บริษัทธนวัฒน์ จำกัด ในพื้นที่บ้านห้วยแก้ว ตำบลวังชะพลู และบ้านหนองน้ำแดง ตำบลปางมะค่า อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร และลานมันชัยเจริญ ในพื้นที่บ้านโป่งน้าร้อน ตำบลโป่งน้าร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร และภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานเกษตรอำเภอในพื้นที่ดำเนินการ รวมทั้งวิทยากรจากกรมวิชาการเกษตร และกรมพัฒนาที่ดิน แนวทางการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังสู่เกษตรกรและขยายผล โดยการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีโดยการอบรม และภาคปฏิบัติโดยการจัดทำแปลงเรียนรู้ และแปลงต้นแบบเพื่อเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ มีการพัฒนาหรือสร้างกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง สร้างกิจกรรมและเชื่อมโยงกับกลุ่มต่างพื้นที่ จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่าเกษตรกรให้ความสนใจและให้ความสาคัญในการเข้ารับการถ่ายทอดเทคโนโลยี เนื่องจากคณะทำงานได้วางแผนงานการถ่ายทอดความรู้และติดตามงาน ตามแผนการปลูกและปฏิบัติของเกษตรกร ทำให้เกษตรกรได้รับความรู้แล้วพร้อมนำไปปฏิบัติ อย่างไรก็ตามผลผลิตของมันสำปะหลัง ยังมีความแปรปรวนเนื่องจากสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะการกระจายตัวของปริมาณน้ำฝนที่เปลี่ยนไป มีผลกระทบต่อการเจริญเติบและผลผลิตของมันสำปะหลัง กิจกรรมประกวดการนาเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลังไปปรับใช้ เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สร้างแรงกระตุ้นให้เกษตรกรได้เข้าถึงเทคโนโลยีที่สามารถนาไปปฏิบัติได้ผลจริง อีกหนึ่งกิจกรรมคือการเชื่อมโยงเครือข่ายเกษตรกรต่างพื้นที่เกษตรกรให้ความสนใจมากเนื่องจากได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์การผลิตมันสำปะหลังต่างพื้นที่ สร้างการรับรู้และสามารถนำความรู้มาปรับใช้ให้เหมาะกับพื้นที่ตนเอง
|