การใช้สารเสริมความแข็งแรงในการป้องกันกำจัดโรคใบจุดที่เกิดจากแบคทีเรียของกล้วยไม้ - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2554 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=4) +--- เรื่อง: การใช้สารเสริมความแข็งแรงในการป้องกันกำจัดโรคใบจุดที่เกิดจากแบคทีเรียของกล้วยไม้ (/showthread.php?tid=270) |
การใช้สารเสริมความแข็งแรงในการป้องกันกำจัดโรคใบจุดที่เกิดจากแบคทีเรียของกล้วยไม้ - doa - 11-18-2015 การใช้สารเสริมความแข็งแรงในการป้องกันกำจัดโรคใบจุดที่เกิดจากแบคทีเรียของกล้วยไม้ (ออนซิเดียม) ดารุณี ปุญพิทักษ์, ณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล, ทัศนาพร ทัศคร และวิภาดา ทองทักษิณ กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และสถาบันวิจัยพืชสวน กล้วยไม้ออนซิเดียมเป็นกล้วยไม้อีกชนิดหนึ่งที่มักพบมีโรคแบคทีเรียเข้าทำลายซึ่งโรคที่สำคัญ โรคใบจุด การป้องกันกำจัดโรคใบจุดกล้วยไม้ที่เกิดจากแบคทีเรียทำได้ยากมีสารเคมีเพียงไม่กี่ชนิดที่สามารถใช้ป้องกันกำจัดโรคได้ ได้แก่ สารประกอบทองแดง (copper compounds) และสารแอนติไบโอติก (antibiotic) อย่างไรก็ตาม กล้วยไม้บางชนิดอ่อนแอต่อสารประกอบทองแดงและการใช้สารแอนติไบโอติกมีค่าใช้จ่ายสูงและทำให้แบคทีเรียสาเหตุโรคเกิดการดื้อต่อสารแอนติไบโอติกได้ ดังนั้นการควบคุมโรคกล้วยไม้ที่เกิดจากแบคทีเรียควรใช้วิธีป้องกันการเกิดโรค ถ้าพบการเกิดโรคต้องรีบทำลายทันที มีรายงานการใช้สารเสริมความแข็งแรง เช่น ใช้น้ำปูนใสในการป้องกันกำจัดโรคใบไหม้ที่เกิดจากแบคทีเรียในหอมและกระเทียม การใช้ซิลิคอนในการกำจัดโรคราน้ำค้าง (powdery mildew) ของแตงในระดับเรือนปลูกพืชทดลอง และในกล้วยไม้เองนั้นการฉีดพ่นไคโตซานที่รากจะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโต กระตุ้นการออกดอก และสามารถต้านทานเชื้อราและไวรัส เป็นต้น ดังนั้นในการทดลองครั้งนี้จึงได้นำสารเสริมต่างๆ มาทดสอบกับโรคแบคทีเรียของกล้วยไม้ออนซิเดียม ซึ่งผลการทดลองพบว่ายังไม่สามารถคัดเลือกสารที่มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุดได้เนื่องจากกล้วยไม้ออนซิเดียมมีอาการรุนแรงของโรคใกล้เคียงกัน ซึ่งคาดว่าในการทดลองครั้งต่อไปควรปรับปริมาณสารเสริมที่ใช้ให้เหมาะสมและต้องปรับช่วงระยะเวลาการฉีดพ่นต่อไป
|