คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การเฝ้าระวังการแพร่กระจายราเขม่าดำ U.cepulae ในพื้นที่ปลูกหอมแดง กระเทียมเพื่อส่งออก - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2554 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=4)
+--- เรื่อง: การเฝ้าระวังการแพร่กระจายราเขม่าดำ U.cepulae ในพื้นที่ปลูกหอมแดง กระเทียมเพื่อส่งออก (/showthread.php?tid=27)



การเฝ้าระวังการแพร่กระจายราเขม่าดำ U.cepulae ในพื้นที่ปลูกหอมแดง กระเทียมเพื่อส่งออก - doa - 10-12-2015

การเฝ้าระวังการแพร่กระจายของราเขม่าดำ Urocystis cepulae ในพื้นที่ปลูกหอมแดง และกระเทียมเพื่อการส่งออก
พรพิมล อธิปัญญาคม, สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ และชนินทร ดวงสอาด
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

จากผลการสำรวจโรคราเขม่าดำของหอมแดงในเขตภาคเหนือ จังหวัดอุตรดิตถ์ เชียงใหม่ ลำพูน ช่วงเดือนตุลาคม 2553 – เดือนกันยายน 2554 โดยทำการสำรวจโรคราเขม่าดำของหอมแดงในจังหวัดอุตรดิตถ์ เชียงใหม่ ลำพูน จาก 8 พื้นที่ๆ รวมทั้งหมด 35 แปลง แปลงละ 10 กก. ไม่พบโรคราเขม่าดำบนทุกส่วนของหอมแดง พบแต่โรคหอมเลื้อยสาเหตุเกิดจากรา Colletotrichum และโรคโคนเน่าสาเหตุเกิดจากรา Sclerotium เก็บตัวอย่างโรคมาศึกษาในห้องปฏิบัติการและเก็บเป็นตัวอย่างแห้งไว้ในพิพิธภัณฑ์โรค

จากการสุ่มตรวจโรคราเขม่าดำของหอมแดงในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุบลราชธานี บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สกลนคร ช่วงเดือนตุลาคม 2553 – เดือนกันยายน 2554 จาก 7 พื้นที่ รวมทั้งหมด 39 แปลง แปลงละ 10 กก. ไม่พบโรคราเขม่าดำบนทุกส่วนของหอมแดง พบแต่โรคหอมเลื้อยสาเหตุเกิดจากรา Colletotrichum โรคโคนเน่าสาเหตุเกิดจากรา Sclerotium และโรครากปมสาเหตุเกิดจากไส้เดือนฝอย เก็บตัวอย่างโรคมาศึกษาในห้องปฏิบัติการและเก็บเป็นตัวอย่างแห้งไว้ในพิพิธภัณฑ์โรคพืช