คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การอนุรักษ์จุลินทรีย์ทางการเกษตรและการใช้ประโยชน์ - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2560 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=33)
+--- เรื่อง: การอนุรักษ์จุลินทรีย์ทางการเกษตรและการใช้ประโยชน์ (/showthread.php?tid=2690)



การอนุรักษ์จุลินทรีย์ทางการเกษตรและการใช้ประโยชน์ - doa - 06-04-2019

การอนุรักษ์จุลินทรีย์ทางการเกษตรและการใช้ประโยชน์
นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด, บุญเรือนรัตน์ เรืองวิเศษ, มัลลิกา แก้ววิเศษ, ภรณี สว่างศรี, อัครชาพรรณ กวางแก้ว และเสริมพร กึ่งพุทธพงศ์
สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ และศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

          จุลินทรีย์ทางการเกษตรมีความหลากหลายของชนิดและสายพันธุ์จำนวนมาก มีทั้งที่เป็นประโยชน์และเป็นโทษต่อสภาพแวดล้อมและการเกษตรในระบบนิเวศ การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บรวบรวม จัดจำแนก คัดเลือก เก็บรักษาให้คงความมีชีวิต และการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ในอาหารเทียมเพื่อการนาไปใช้ได้จริง ได้แก่ ราปฏิปักษ์ควบคุมโรคพืช ไส้เดือนฝอยและแบคทีเรียบีทีกาจัดแมลง พัฒนาไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรอย่างต่อเนื่อง สามารถเก็บรวบรวมและคัดเลือกได้ 1) ราปฏิปักษ์ Paecilomyces sp. ที่มีศักยภาพในการเข้าทาลายไข่ของไส้เดือนฝอยรากปม 70.05% เมื่อนามาเพิ่มขยายในเมล็ดธัญพืชพบว่า เจริญได้ดีในเมล็ดข้าวฟ่างได้จำนวนสปอร์สูงที่สุดเท่ากับ 9.08×10(5) สปอร์ต่อมิลลิลิตร และมีประสิทธิภาพในการควบคุมโรครากปมพริก โดยช่วยลดการเกิดปมได้ 50 - 75 % เมื่อใส่รา Paecilomyces sp. 2 - 4 ครั้ง 2) ไส้เดือนฝอยกาจัดแมลง แยกได้ 42 ไอโซเลท และกาหนดรหัสเป็นอักษรย่อชื่อจังหวัด จำแนกชนิดเป็น Steinernema siamkayai โดยวิธี cross mating นามาเก็บรักษาในสารอุ้มความชื้นที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส จากการประเมินศักยภาพในการเป็นสารชีวภัณฑ์ในห้องปฏิบัติการ คัดเลือกได้ Steinernema sp. KP, KB, RE และ UB isolate สามารถเคลื่อนที่เข้าหาแมลงเหยื่อล่อได้รวดเร็วที่สุด และมีศักยภาพในการฆ่าแมลงในกลุ่มหนอนผีเสื้อ และกลุ่มหนอนด้วง ได้ 38-100 % และพบว่าไส้เดือนฝอยไอโซเลท CM, PL, PB, NP, CN, KB, UT, AT, RB, KK, UB, SK, RE, PR, BR, RJ และ CB เพาะขยายในอาหารสูตรไข่ผสมน้ามันหมูและน้าในอัตราส่วน 4 : 2 : 4 ให้ผลผลิต 7.9 8.2 9.2 11.2 7.6 10.8 12.8 13.2 13.8 15.5 8.2 11.8 17.2 5.8 10.5 9.2 และ 7.7 ล้านตัวต่ออาหาร 20 กรัม ตามลาดับ 3) แบคทีเรียบีที แยกโดยใช้เทคนิคชีวโมเลกุลได้ Bacillus thuringiensis จำนวน 30 ไอโซเลท ตรวจสอบด้วยเทคนิค SDS PAGE โดยใช้ NuPAGE 4-12% Bis-Tris Gel พบว่ามีการสร้างผลึกโปรตีนที่มีน้าหนักโมเลกุลในช่วง 25 - 48 กิโลดาลตัน เมื่อนามาทดสอบประสิทธิภาพในการฆ่าหนอนเจาะสมอฝ้ายพบว่าที่ระดับความเข้มข้น 108 มีผลทาให้หนอนเจาะสมอฝ้ายตายเฉลี่ย 100 % ที่เวลา 72 ชั่วโมง การเก็บรักษาแบคทีเรียบีที ที่อุณหภูมิ 4 - 20 และ -80 องศาเซลเซียส พบว่าประสิทธิภาพลดลงตั้งแต่ระยะเวลา 3 เดือน

   การจัดทำฐานข้อมูลด้านจุลินทรีย์ทางการเกษตร โดยสร้างเป็น webpage และนำเข้าข้อมูล ทดสอบการใช้งาน และเปิดใช้งานจริง ในชื่อ microorganism.expertdoa.com ประกอบด้วยเว็บเพจที่สามารนำเสนอข้อมูลจุลินทรีย์ที่สาคัญ ข้อมูลนักวิจัย และการนาไปใช้ประโยชน์ รวมถึงจุลินทรีย์ทางด้านโรคพืชและการป้องกันกาจัดโรคได้ครบทุกมิติ สามารถเข้าถึงข้อมูลกิจกรรมต่างๆ Link สู่ Social media ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดเอกสารไปใช้งานได้ และเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วในระบบอินเทอร์เน็ตที่เผยแพร่ทาง website รวมทั้งนักวิจัย/เกษตรกร/ผู้สนใจ นำองค์ความรู้ทางวิชาการและเทคโนโลยีด้านจุลินทรีย์และผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์ไปต่อยอดใช้ประโยชน์ได้