วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยให้เหมาะสมตามศักยภาพของพื้ - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2560 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=33) +--- เรื่อง: วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยให้เหมาะสมตามศักยภาพของพื้ (/showthread.php?tid=2667) |
วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยให้เหมาะสมตามศักยภาพของพื้ - doa - 06-04-2019 วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยให้เหมาะสมตามศักยภาพของพื้นที่ ปรีชา กาเพ็ชร การผลิตอ้อยมักได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อม และการจัดการแปลงที่หลากหลายทำให้ผลผลิตมีความแปรปรวนสูง จึงได้ดำเนินการทดลองเพื่อหาศักยภาพในการให้ผลผลิตของอ้อย และเทคโนโลยีการผลิตให้เหมาะสมตามศักยภาพของพื้นที่นั้นๆ ดำเนินการปลูกอ้อย 3 กลุ่มพันธุ์ จำนวน 3 วันปลูก ใน 6 สถานที่ ระหว่างปี 2558 - 2560 พบว่า ในสภาพการผลิตที่มีปัจจัยการผลิตเพียงพอ อ้อยกลุ่มพันธุ์ที่มีลักษณะใบโค้งมาก และปลูกในช่วงเดือนธันวาคม ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ให้ผลผลิตสูงที่สุด 40.2 ตันต่อไร่ และเมื่อปลูกในสภาพแวดล้อมที่มีนำเป็นปัจจัยจำกัด ได้ผลผลิตเฉลี่ยลดลง 5.6% ของค่าเฉลี่ยของผลผลิตที่ควรจะได้ หลังจากนั้นได้นำข้อมูลการเติบโตและผลผลิตของอ้อยทั้ง 3 กลุ่มพันธุ์ ที่ปลูกในช่วงเดือนมกราคม ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น มาปรับค่าสัมประสิทธิ์ทางพันธุกรรมของอ้อย 3 กลุ่มพันธุ์ สำหรับนำเข้าแบบจำลองพืช 3 ชนิด พบว่าค่าสัมประสิทธิ์ทางพันธุกรรมของอ้อยทั้ง 3 กลุ่มพันธุ์ ส่วนใหญ่นำมาใช้กับแบบจำลองพืชทั้ง 3 ชนิดได้อยู่ในระดับดี NRMSE อยู่ระหว่าง 10.1 - 20.0% เมื่อทดสอบค่าสัมประสิทธิ์ทางพันธุกรรมกับแปลงทดสอบอีกจำนวน 51 แปลง พบว่าค่าสัมประสิทธิ์ของอ้อยทั้ง 3 กลุ่มพันธุ์นำมาใช้ได้กับแบบจำลอง CANEGRO ได้ในระดับพอใช้ มีค่า NRMSE เฉลี่ย 22.4% ส่วนแบบจำลอง DNDC95 และ Aquacrop ผลการทดสอบยังไม่สามารถนำมาใช้ได้ โดยมีค่า NRMSE = 42.8 และ 181.6% ตามจำนวน จึงได้ใช้แบบจำลอง CANEGRO มาประเมินผลผลิตที่ควรจะได้ในพื้นที่ปลูกที่สำคัญในประเทศไทย 10 จังหวัด และสุ่มเก็บผลผลิตจริงเพื่อวิเคราะห์หาช่องว่างของผลผลิต พบว่าผลผลิตที่ควรจะได้มีค่าระหว่าง 31.4 - 36.9 ตันต่อไร่ และผลผลิตจริงมีค่าระหว่าง 10.6 - 19.6 ตันต่อไร่ ช่องว่างของผลผลิตเฉลี่ย 17.3 ตันต่อไร่ ชี้ให้เห็นว่ามีโอกาสสูงในการยกระดับผลผลิตอ้อยให้เพิ่มขึ้นจากเดิมได้ โดยสาเหตุของการเกิดช่องว่างของผลผลิตแตกต่างกันตามพื้นที่ปลูกอ้อย ได้แก่ การขาดน้ำ การใช้พันธุ์ไม่เหมาะสมกับพื้นที่ การจัดการวัชพืชไม่ทันเวลา และการใส่ปุ๋ยไม่เพียงพอกับความต้องการของอ้อย การปลูกอ้อยช้า และมีน้ำท่วมขังแปลง ซึ่งสาเหตุการเกิดช่องว่างผลผลิตดังกล่าว สามารถนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อยกระดับผลผลิตในพื้นที่นั้นๆ ได้ ควรดำเนินการทดสอบต่อไป
|