ทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชผักปลอดภัยเพื่อเพิ่มมูลค่า - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2560 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=33) +--- เรื่อง: ทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชผักปลอดภัยเพื่อเพิ่มมูลค่า (/showthread.php?tid=2649) |
ทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชผักปลอดภัยเพื่อเพิ่มมูลค่า - doa - 05-30-2019 โครงการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชผักปลอดภัยเพื่อเพิ่มมูลค่า พเยาว์ พรหมพันธุ์ใจ เกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างปลูกพริกและหอมแดงมานาน ประสบปัญหาการระบาดของโรค แมลง สารพิษตกค้าง และใช้ปุ๋ยเคมีมาก ทำให้ผลผลิตต่า สวพ 4 จึงจัดทำโครงการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัยเพื่อเพิ่มมูลค่าโดยต่อยอดจากผลงานทดสอบเทคโนโลยีปี 2554 - 2558 ประกอบด้วยการทดสอบและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพริกโดยใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับการป้องกันกำจัดศัตรูพริกแบบผสมผสาน โดยปฏิบัติตามระบบการจัดการคุณภาพ GAP พริกในพื้นที่ จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ และนครราชสีมา และการจัดทำแปลงต้นแบบพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตหอมแดงคุณภาพ ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ และยโสธร ในปี 2559 - 2561 โดยการพัฒนาเทคโนโลยีแบบเกษตรกรมีส่วนร่วม (Participatory Technology Development : PTD) พื้นที่ละ 10 รายๆละ 1 ไร่ มี 2 กรรมวิธี คือ วิธีทดสอบและวิธีเกษตรกรพบว่า การผลิตพริกคุณภาพร่วมกับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินทำให้ได้ผลผลิตมากขึ้นร้อยละ 0.6 ต้นทุนลดลงร้อยละ 6.5 เนื่องจากลดค่าปุ๋ยเคมีได้ไร่ละ 1,778 บาท จึงมีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ค่า BCR เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 ผลผลิตปลอดภัย 96% ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP พริก 77 แปลง เกษตรกรยอมรับการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินแต่ไม่นาไปปฏิบัติเพราะไม่สะดวก แต่จังหวัดนครราชสีมายอมรับและนาไปปฏิบัติพร้อมขยายผลไปแปลงอื่นๆ ทุกจังหวัดไม่ยอมรับการคัดแยกผลผลิตพริกเพราะขาดแรงงานและราคาไม่แตกต่างกัน ส่วนการจัดทำแปลงต้นแบบพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตหอมแดงคุณภาพ ในพื้นที่ตำบลฟ้าห่วน อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร ตำบลหนองหมี อำเภอราษีไศล และ ตำบลดวนใหญ่ อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ พบว่าแปลงต้นแบบให้ผลผลิตหอมปี (ปลูกในเดือนตุลาคม - มกราคม) ผลผลิตหอมพันธุ์ (ปลูกในเดือนเมษายน - พฤษภาคม) สูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกร จึงมีรายได้ อัตราส่วนของรายได้ต่อการลงทุน (BCR) สูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกร พบโรคหอมเลื้อยในหอมปีต่ามากแต่พบโรคใบไหม้เกิดจากเชื้อรา Stemphylium vesicarium ระบาดในปี 2561 ในช่วงอายุ 45 - 60 วัน ที่ อ.วังหิน จ.ศรีสะเกษ ทุกแปลงไม่พบโรคหอมเลื้อยในหอมพันธุ์ และไม่พบสารพิษตกค้าง ดังนั้น อ.ค้อวัง จ.ยโสธร อ ราศีไศล อ.วังหิน จ.ศรีสะเกษ เป็นแหล่งผลิตหอมพันธุ์สะอาดและมีหอมแดงคุณภาพ ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP และทวนสอบย้อนกลับด้วย QR Code
|