ทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตพืชผักในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2560 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=33) +--- เรื่อง: ทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตพืชผักในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก (/showthread.php?tid=2646) |
ทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตพืชผักในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก - doa - 05-30-2019 ทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตพืชผักในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก อรัญญา ภู่วิไล การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตพืชผักในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก ระยะเวลาดำเนินการรวม 3 ปี (ปีงบประมาณ 2559 สิ้นสุดปีงบประมาณ 2561) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาโรคลำต้นไหม้ในการผลิตหน่อไม้ฝรั่งจังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดนครปฐม 2) เพื่อทดสอบเทคโนโลยีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสานในการผลิตกระเจี๊ยบเขียวเพื่อการส่งออกในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี 3) เพื่อศึกษาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการลดสารไนเตรทในผลผลิตผักสดที่ปลูกแบบไม่ใช้ดิน 4) เพื่อศึกษาอัตราส่วนวัสดุปลูกที่เหมาะสมในการผลิตผักที่ปลูกแบบไม่ใช้ดิน 5) เพื่อทดสอบกระบวนล้างผลผลิตของโรงคัดบรรจุผลผลิตพืชผักและการคัดบรรจุที่มีมาตรฐาน GMP และ 6) เพื่อลดปริมาณการใช้สารเคมีในการผลิตคะน้ำโดยใช้เทคโนโลยีการควบคุมแมลงศัตรูแบบผสมผสานในจังหวัดอ่างทอง วิธีการดำเนินงานศึกษาวิจัยในการทดลองที่ 1-3 และ 17 โดยการคัดเลือกผลงานวิจัยที่สามารถแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้ นามาวางแผนและทดสอบร่วมกับเกษตรกรในพื้นที่ ส่วนการทดลองอื่นดำเนินการในพื้นที่ของหน่วยงานวิจัย
ผลการดำเนินงาน พบว่า
1) เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาโรคลำต้นไหม้ในการผลิตหน่อไม้ฝรั่งจังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดนครปฐม โดยการใช้สารอะซ็อกซีสโตบิน ฉีดพ่น 1 ครั้งต่อสัปดาห์ในช่วงพักต้นและในช่วงเก็บเกี่ยวพ่นด้วยเชื้อไตรโคเดอร์ม่าสามารถควบคุมการเกิดโรคได้ดีกว่าวิธีเดิมที่เกษตรกรใช้ สังเกตได้จากค่าระดับความรุนแรงของโรคมีค่าต่ากว่าวิธีเกษตรกร2) เทคโนโลยีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสานในการผลิตกระเจี๊ยบเขียวเพื่อการส่งออกในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่าเทคโนโลยีที่นาไปทดสอบเปรียบเทียบมีค่า BCR 11.85 ในขณะที่วิธีเดิมของเกษตรกร มีค่า BCR 17.57 แสดงว่าทั้ง 2 กรรมวิธีมีความคุ้มค่าในการการลงทุน 3) การลดสารไนเตรทในผลผลิตผักสดที่ปลูกแบบไม่ใช้ดินพบว่า การปรับลดปริมาณไนโตรเจนลงจากสูตรเดิม 10 % โดยน้ำหนัก ยังคงสามารถผลิตผักที่มีคุณภาพได้เหมือนกับสูตรเดิมและผู้ปลูกควรปรับลดความเข้มข้นของสารละลายปุ๋ยก่อนการเก็บเกี่ยวอย่างน้อย 3 วัน ส่วนการเก็บรักษาผลผลิตผักที่ปลูกแบบไม่ใช้ดินที่อุณหภูมิ 10 oC ใบพืชสีเขียวจะมีความเขียวมากกว่าการเก็บที่อุณหภูมิ 25 oC 4) อัตราส่วนวัสดุปลูกที่เหมาะสมในการผลิตกะเพราและมะเขือเทศราชินีที่ปลูกแบบไม่ใช้ดินพบว่า อัตราส่วนวัสดุปลูกที่เหมาะสมในการปลูกกะเพราและมะเขือเทศราชินีแบบไม่ใช้ดิน คือ ขุยมะพร้าว 2 ส่วน ทรายและแกลบดิบอย่างละ 1 ส่วน กะเพราให้ความกว้างทรงพุ่มไม่แตกต่างจากส่วนผสมอัตราส่วนอื่นแต่ให้น้ำหนักสดสูง ส่วนมะเขือเทศราชินีให้ผลผลิตน้ำหนักสดรวมต่อต้นมากที่สุด 5) ทดสอบกระบวนล้างผลผลิตของโรงคัดบรรจุผลผลิตพืชผักและการคัดบรรจุที่มีมาตรฐาน GMP พบว่า การล้างผลผลิตไม่สามารถลดปริมาณเชื้อ E.coli ลงได้ แต่สามารถลดปริมาณสารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชลงได้ ส่วนปริมาณเชื้อ Salmonella ไม่พบในผลผลิตที่ทาการทดลอง 6) การลดปริมาณการใช้สารเคมีในการผลิตคะน้ำโดยใช้เทคโนโลยีการควบคุมแมลงศัตรูแบบผสมผสานในจังหวัดอ่างทองพบว่า ทั้ง 2 ปีที่ทดสอบ กรรมวิธีทดสอบ มีค่า BCR 1.39 และ 1.60 สูงกว่าวิธีเกษตรกร ที่มีค่า BCR 1.06 และ 1.52 การทดลองที่ 1 ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่งแบบผสมผสานเพื่อป้องกันโรคลำต้นไหม้จังหวัดกาญจนบุรี ศัสยมน นิเทศพัตรพงศ์, อำไพ ประเสิรฐสุข, รุ่งทิพย์ งากุญชร, นันทนา โพธิ์สุข, ทิพย์ดรุณี สิทธินาม, สมพร เหรียญรุ่งเรือง และทัศนาพร ทัศคร ดำเนินการทดสอบในแปลงหน่อไม้ฝรั่งของเกษตรกร ในอำเภอเมือง ท่ามะกา บ่อพลอย พนมทวน และด่านมะขามเตี้ย จำนวน 10 รายต่อปี รายละ 1 ไร่ ระหว่างเดือนตุลาคม 2558 ถึงกันยายน 2561 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบเทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่งแบบผสมผสาน เพื่อป้องกันการเกิดโรคลำต้นไหม้ โดยแบ่งพื้นที่ในแต่ละแปลงเป็น 2 ส่วนๆ ละ 0.5 ไร่ เพื่อเปรียบเทียบกรรมวิธีเกษตรกร และกรรมวิธีทดสอบ โดยกรรมวิธีเกษตรกร ระยะพักต้นจะไว้ต้นแม่ 7 - 10 ต้นต่อกอ ฉีดพ่นสารแมนโคเซป ทุกสัปดาห์ และในระยะเก็บเกี่ยว ฉีดพ่นด้วยคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ ทุกสัปดาห์ กรรมวิธีทดสอบ จะไว้ต้นแม่ 5 ต้นต่อกอ และฉีดพ่น สารอะซ็อกซี่สโตรบิน อัตรา 5 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ในระยะพักต้น และในระยะเก็บเกี่ยว จะฉีดพ่นด้วยเชื้อราไตรโครเดอร์มา สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เก็บข้อมูลความรุนแรงของโรคลำต้นไหม้ในระยะเก็บเกี่ยวต่อเนื่องกันทุกสัปดาห์เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เพื่อประเมินความรุนแรงของโรค ผลการทดสอบ ปีที่ 1 และ 2 พบว่า ระดับความรุนแรงของการเกิดโรคลำต้นไหม้ มีความแตกต่างกันทำงสถิติ คือ กรรมวิธีทดสอบ มีความรุนแรงของการเกิดโรคต่ากว่ากรรมวิธีเกษตรกร และพบว่า ทั้งสองกรรมวิธีมีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคลำต้นไหม้ประมาณ 1 - 10 เปอร์เซ็นต์ของต้น สำหรับผลการทดสอบในปีที่ 3 พบว่า ทั้งกรรมวิธีทดสอบและกรรมวิธีเกษตรกร มีระดับความรุนแรงของโรคไม่แตกต่างกันทำงสถิติ ซึ่งคาดว่ามีสาเหตุมาจากการจัดการแปลงของเกษตรกร ประเด็นหลัก คือ เกษตรกรไม่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามคาแนะนา มีการนำสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืชที่แนะนาให้ใช้ในกรรมวิธีทดสอบ ไปฉีดพ่นในกรรมวิธีเกษตรกรด้วย และในช่วงที่หน่อไม้ฝรั่งเป็นโรคมาก เกษตรกรจะนำสารเคมีป้องกันโรคพืชทุกชนิดที่มีอยู่ในบ้าน มาฉีดพ่นทั้งแปลง ทั้งในกรรมวิธีทดสอบและกรรมวิธีเกษตรกร จึงทำให้ผลการทดสอบในปีสุดท้ายไม่แตกต่างกัน
การทดลองที่ 2 ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตหน่อไม่ฝรั่งแบบผสมผสานเพื่อป้องกันโรคลำต้นไหม้ จังหวัดนครปฐม
อดุลย์รัตน์ แคล้วคลาด, เพทำย กาญจนเกษร, สุภัค กาญจนเกสร, ศิริจันทร์ อินทร์น้อย และทัศนาพร ทัศคร การทดลองนี้เป็นรายงานความก้าวหน้าในระยะเวลา 2 ปี ระหว่างเดือนตุลาคม 2558 ถึงกันยายน 2560 ดำเนินการทดสอบในแปลงเกษตรกรอำเภอเมือง และอำเภอกาแพงแสน จังหวัดนครปฐม รายล่ะ 1ไร่ จานวน 10 รายต่อปี โดยแบ่งพื้นที่ในแต่ละแปลงเป็น 2 ส่วนๆ ละ 0.5 ไร่ ปฏิบัติตามวิธีเกษตรกร และวิธีทดสอบ โดยวิธีเกษตรกรระยะพักต้นจะไว้ต้นแม่ 7 - 10 ต้นต่อกอ ฉีดพ่นสารแมนโคแซปทุกสัปดาห์ และในระยะเก็บเกี่ยว ฉีดพ่นด้วยสารคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ทุกสัปดาห์ วิธีทดสอบจะไว้ต้นแม่ 5 ต้นต่อกอ และฉีดพ่นสารอะซ็อกซี่สโตรบิน อัตรา 5 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร สัปดาห์ล่ะ 1 ครั้ง เก็บข้อมูลความรุนแรงของโรคลำต้นไหม้ในระยะเก็บเกี่ยวต่อเนื่องกันทุกสัปดาห์ การทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้เทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่งแบบผสมผสาน เพื่อป้องกันการเกิดโรคลำต้นไหม้ จากการศึกษาโดยการประเมินความรุนแรงของโรคในแต่ล่ะปี พบว่ากรรมวิธีทดสอบความรุนแรงของโรคน้อยกว่ากรรมวิธีเกษตรกร แต่ก็ถือว่าอยู่ในระดับความรุนแรงของโรคใกล้เคียงกัน ซึ่งความรุนแรงของโรคที่พบทั้ง 2 กรรมวิธีส่วนใหญ่อยู่ประมาณ 1 - 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งอาจเกิดจากการจัดการแปลงของเกษตรกร เกษตรกรนำสารเคมีในกรรมวิธีทดสอบฉีดพ่นในกรรมวิธีเกษตรกรในช่วงที่เริ่มมีการระบาดที่มากขึ้น การทดลองที่ 3 ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตกระเจี๊ยบเขียวให้ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
อรัญญา ภู่วิไล, วัชรา สุวรรณอาศน์, จิราภา เมืองคล้าย และจันทนา ใจจิตร ทดสอบเทคโนโลยีการผลิตกระเจี๊ยบเขียวให้ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้เทคโนโลยีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสานในการผลิตกระเจี๊ยบเขียวเพื่อการส่งออกในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี ทำการทดลองระหว่างเดือนตุลาคม 2559 – กันยายน 2560 ที่แปลงเกษตรกรอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ทำการทดสอบในแปลงเกษตรกรจานวน 5 ราย แบ่งออกเป็น 2 กรรมวิธี คือ กรรมวิธีเกษตรกรและกรรมวิธีทดสอบ สำหรับกรรมวิธีเกษตรมีปริมาณผลผลิตเท่ากับ 2,115.60 กก./ไร่ ต้นทุนเท่ากับ 2,787.47 บาท/ไร่ รายได้เท่ากับ 48,658.86 บาท/ไร่ กาไรสุทธิเท่ากับ 45,871.39 บาท และ BCR เท่ากับ 17.57 ส่วนกรรมวิธีทดสอบมีปริมาณผลผลิตเท่ากับ 2,061.40 กก./ไร่ ต้นทุนเท่ากับ 4,032.08 บาท/ไร่ รายได้เท่ากับ 47,412.14 บาท/ไร่ กาไรสุทธิเท่ากับ 43,380.06 บาท และ BCR เท่ากับ 11.85 ผลวิเคราะห์สารพิษตกค้าง ครั้งที่ 1 มี 1 ราย ที่พบสารพิษตกค้างทั้ง 2 กรรมวิธี ส่วนผลการวิเคราะห์สารพิษตกค้างครั้งที่ 2 ในผลผลิตจากเกษตรกรทั้ง 5 รายทั้ง 2 กรรมวิธี มีค่าไม่เกินมาตรฐาน MRLของประเทศญี่ปุ่น การทดลองที่ 4 ทดสอบสูตรธาตุอาหารและการลดปริมาณไนเตรทในการผลิตกวางตุ้ง จังหวัดราชบุรี
ช่ออ้อย กาฬภักดี และสุรพล สุขพันธ์ การทดสอบสูตรธาตุอาหารและการลดปริมาณไนเตรทในการผลิตกวางตุ้ง จังหวัดราชบุรี ทำการทดลองในโรงเรือนศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรราชบุรี ระหว่างปี 2559 - 2560 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการลดสารไนเตรทตกค้างในผักกวางตุ้งที่ปลูกในสารละลายธาตุอาหาร วางแผนการทดลองแบบ Split Plot Design จำนวน 3 ซ้ำ โดยมี Main plot 4 ระดับ คือ 1. ให้สารละลายปุ๋ยตลอดอายุผักจนถึงวันเก็บเกี่ยว 2. ปรับสารละลายปุ๋ยออก 1/3 ก่อนครบอายุเก็บเกี่ยว 3 วัน 3. ปรับสารละลายปุ๋ยออก 1/2 ก่อนครบอายุเก็บเกี่ยว 3 วัน และ 4. ปรับสารละลายปุ๋ยออกทั้งหมดก่อนครบอายุเก็บเกี่ยว 3 วัน Supplot 2 ระดับ คือ สูตรธาตุอาหาร KMITL3 ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และสูตรธาตุอาหาร KMITL3 ที่ปรับลดสูตรปุ๋ยที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบลง 10 % ของน้ำหนัก Sub sub plot คืออายุการเก็บรักษาหลังการเก็บเกี่ยวเมื่อเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 0, 2 และ 4 วัน พบว่า ปี 2559 สูตรธาตุอาหาร KMITL3 ปรับลดไนโตรเจนลง 10 % ปรับสารละลายปุ๋ยออก 1/3 และปรับสารละลายปุ๋ยออกทั้งหมด ให้น้ำหนักสดไม่ตัดรากและตัดราก สูงสุดเท่ากับ 69.6 และ 64.7 กรัม/ต้น หรือ 83.5 และ 77.6 กิโลกรัม/โรงเรือนขนาด 15 ตารางเมตร ตามลำดับ การปรับปริมาณสารละลายออกทั้งหมด ให้น้ำสดไม่ตัดราก และตัดรากต่ำสุดทั้งสองสูตรธาตุอาหาร เท่ากับ 47.0 46.7 และ 41.9 41.7 กรัม/ต้น หรือ 56.4 56.0 และ 50.3 50.0 กิโลกรัม/โรงเรือนขนาด 15 ตารางเมตร ตามลำดับ ปี 2560 สูตรธาตุอาหาร KMITL3 ปรับปริมาณสารละลายออก 1/3 ให้น้ำหนักสดไม่ตัดราก และตัดราก สูงสุดเท่ากับ 109.9 และ 107.4 กรัม/ต้น หรือ 131.9 และ 128.9 กิโลกรัม/โรงเรือนขนาด 15 ตารางเมตร ตามลำดับ สูตรธาตุอาหาร KMITL3 ปรับปริมาณสารละลายออก 1/2 ให้น้ำสดไม่ตัดราก และตัดรากต่ำสุด เท่ากับ 95.7 และ 88.7 กรัม/ต้น หรือ 114.8 และ 106.4 กิโลกรัม/โรงเรือนขนาด 15 ตารางเมตร ตามลำดับ ส่วนปริมาณสารไนเตรทตกค้าง พบว่าปี 2559 สูตรธาตุอาหาร KMITL3 ปรับลดไนโตรเจนลง 10 % ปรับปริมาณสารละลายออกทั้งหมด เก็บรักษา 2 วัน มีค่าไนเตรทตกค้างสูงสุด เท่ากับ 8,179.70 มก./กก. และสูตรธาตุอาหาร KMITL3 ปรับลดไนโตรเจนลง 10 % ไม่ปรับลดสารละลาย มีค่าไนเตรทตกค้างวันเก็บเกี่ยวต่ำสุด 2,846.67 มก./กก. ปี 2560 สูตรธาตุอาหาร KMITL3 ไม่ปรับลดสารละลาย มีค่าไนเตรทตกค้างวันเก็บเกี่ยวสูงสุด เท่ากับ 4,650.70 มก./กก. สูตรธาตุอาหาร KMITL3 ปรับสารละลายออกทั้งหมด มีค่าไนเตรทตกค้างวันเก็บเกี่ยวต่ำสุด เท่ากับ 2,177.65 มก./กก. เมื่อนำกวางตุ้งเก็บรักษาไว้ 2 วัน ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซียลเซียส พบว่าสูตรธาตุอาหาร KMITL3 ปรับปริมาณสารละลายออก 1/3 มีค่าไนเตรทตกค้างสูงสุด เท่ากับ 4,068.3 มก./กก. สูตรธาตุอาหาร KMITL3 ปรับลดไนโตรเจนลง 10 % ปรับปริมาณสารละลายออกทั้งหมด มีค่าไนเตรทตกค้างต่ำสุดเท่ากับ 2,451.4 มก./กก. เมื่อนำกวางตุ้งเก็บรักษาไว้ 4 วัน ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซียลเซียส พบว่าสูตรธาตุอาหาร KMITL3 ปรับลดไนโตรเจนลง 10 % ปรับปริมาณสารละลายออก 1/3 มีค่าไนเตรทตกค้างสูงสุด เท่ากับ 3,767.7 มก./กก. สูตรธาตุอาหาร KMITL3 ปรับปริมาณสารละลายออกทั้งหมด มีค่าไนเตรทตกค้างต่ำสุดเท่ากับ 2,177.6 มก./กก.ต้นทุนการผลิตกวางตุ้งที่ปลูกด้วยปุ๋ยสูตรธาตุอาหาร ปุ๋ยสูตรธาตุอาหาร KMITL3 และปุ๋ยสูตรธาตุอาหาร KMITL3 ปรับลดไนโตรเจนลง 10 % มีต้นทุนการผลิต 9.43 และ 8.43 บาท/กก. ผลผลิต ตามลำดับ การทดลองที่ 5 ทดสอบสูตรธาตุอาหารและการลดปริมาณไนเตรทในการผลิตคะน้าฮ่องกง จังหวัดชัยนาท
อรัญญา ภู่วิไล, จันทนา ใจจิตร และช่ออ้อย กาฬภักดี การทดสอบสูตรธาตุอาหารและการลดปริมาณไนเตรทในการผลิตคะน้าฮ่องกง จังหวัดชัยนาท เพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการลดสารไนเตรทตกค้างในผลผลิตสดที่ปลูกแบบไม่ใช้ดิน ดำเนินการ ณ ศูนย์เรียนรู้ ของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 ตำบลบางหลวง อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี ตั้งแต่ ตุลาคม 2559 ถึงกันยายน 2560 วางแผนการทดลองแบบ 2 X 4 Factorial in RCB จำนวน 3 ซ้ำ ปัจจัยที่ 1 สูตรธาตุอาหาร มี 2 ระดับ ได้แก่ สูตรธาตุอาหารเดิม (สูตร 1) และสูตรปรับลดไนเตรท-ไนโตรเจน 10% (สูตร 2) ปัจจัยที่ 2 การลดความเข้มข้นของธาตุอาหารก่อนเก็บเกี่ยว 3 วัน มี 4 ระดับ ได้แก่ 1) ไม่มีการลดความเข้มข้นของธาตุอาหาร 2) ปรับลดความเข้มข้นโดยลดปริมาณสารละลายออก 1 ใน 3 แล้วเติมน้ำเปล่า 3) ปรับลดความเข้มข้นโดยลดปริมาณสารละลายออก 1 ใน 2 แล้วเติมน้ำเปล่า 4) ใช้น้ำเปล่าแทนทั้งหมด ผลการทดลองพบว่าทั้ง 2 ปัจจัย มีปริมาณสารไนเตรทในผลผลิตผักสดเมื่อเก็บเกี่ยวไม่แตกต่างกัน แต่การใช้ปริมาณธาตุอาหารในสูตรที่ 2 น้อยกว่าทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าและคะน้าฮ่องกงที่ปลูกในสารละลายสูตรที่ 2 มีขนาดต้นใหญ่กว่าสูตรที่ 1 การทดลองที่ 6 ทดสอบสูตรธาตุอาหารและการลดปริมาณไนเตรทในการผลิตกวางตุ้งฮ่องเต้ จังหวัดชัยนาท
อรัญญา ภู่วิไล, จันทนา ใจจิตร และช่ออ้อย กาฬภักดี การทดสอบสูตรธาตุอาหารและการลดปริมาณไนเตรทในการผลิตกวางตุ้งฮ่องเต้ จังหวัดชัยนาท เพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการลดสารไนเตรทตกค้างในผลผลิตสดที่ปลูกแบบไม่ใช้ดิน ดำเนินการ ณ ศูนย์เรียนรู้ ของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 ตำบลบางหลวง อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี ตั้งแต่ ตุลาคม 2559 ถึงกันยายน 2560 วางแผนการทดลองแบบ 2 X 4 Factorial in RCB จำนวน 3 ซ้ำ ปัจจัยที่ 1 สูตรธาตุอาหาร มี 2 ระดับ ได้แก่ สูตรธาตุอาหารเดิม (สูตร 1) และสูตรปรับลดไนเตรท-ไนโตรเจน 10% (สูตร 2) ปัจจัยที่ 2 การลดความเข้มข้นของธาตุอาหารก่อนเก็บเกี่ยว 3 วัน มี 4 ระดับ ได้แก่ 1) ไม่มีการลดความเข้มข้นของธาตุอาหาร 2) ปรับลดความเข้มข้นโดยลดปริมาณสารละลายออก 1 ใน 3 แล้วเติมน้ำเปล่า 3) ปรับลดความเข้มข้นโดยลดปริมาณสารละลายออก 1 ใน 2 แล้วเติมน้ำเปล่า 4) ใช้น้ำเปล่าแทนทั้งหมด ผลการทดลองพบว่า ปัจจัยด้านปริมาณธาตุอาหารในแต่ละสูตรไม่มีผลต่อปริมาณสารไนเตรทในผลผลิตผักสดเมื่อเก็บเกี่ยว แต่การปรับลดความเข้มข้นของสารละลายก่อนเก็บเกี่ยว 3 วัน ในกรรมวิธีที่ให้น้ำเปล่าก่อนเก็บเกี่ยวมีผลต่อปริมาณสารไนเตรทในผลผลิตสด โดยพบปริมาณสารไนเตรทในผลผลิตสดน้อยกว่ากรรมวิธีที่ไม่ลดความเข้มข้นอย่างมีนัยสาคัญทำงสถิติ และต้นทุนการใช้ปริมาณธาตุอาหารในสูตรที่ 2 ถูกกว่าสูตรที่ 1 การทดลองที่ 7 ทดสอบสูตรธาตุอาหารและการลดปริมาณไนเตรทในการผลิตผักกาดหอม จังหวัดปทุมธานี
นพพร ศิริพานิช, กุลวดี ฐาน์กาญจน์ และไกรสิงห์ ชูดี การทดสอบสูตรธาตุอาหารและการลดปริมาณไนเตรทในการผลิตผักกาดหอมจังหวัดปทุมธานีดำเนินการ ระหว่างเดือนตุลาคม 2558 - กันยายน 2560 ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปทุมธานี โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงสูตรอาหารที่เหมาะสมในการผลิตผักกาดหอม และสามารถลดปริมาณสารไนเตรทตกค้างไม่ให้เกินค่ามาตรฐานสากลในผลผลิตผักกาดหอมที่ปลูกในสารละลายธาตุอาหาร วางแผนการทดลองแบบ Split Split Plot Design จำนวน 3 ซ้ำ มี Main plot 3 ระดับ คือ 1) ให้สารละลายปุ๋ยตลอดอายุผักจนถึงวันเก็บเกี่ยวโดยไม่มีการลดปริมาณสารละลาย 2) ปรับปริมาณสารละลายออกครึ่งหนึ่งจากนั้นเติมน้ำเปล่าจนครบปริมาณ ก่อนครบอายุเก็บเกี่ยว 3 วัน และ 3) ปรับปริมาณสารละลายออกทั้งหมดจากนั้นเติมน้ำเปล่าจนครบปริมาณ ก่อนครบอายุเก็บเกี่ยว 3 วัน Subplot 2 ระดับ คือ 1) สูตรธาตุอาหาร KMITL3 ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ 2) สูตรธาตุอาหาร KMITL3 ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังที่ปรับลดสูตรปุ๋ยที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบลง10% โดยน้ำหนัก Sub-Subplot 3 ระดับ คือ การเก็บรักษาผักที่ 0, 2 และ 4 วันหลังเก็บเกี่ยว ผลการทดลองพบว่า ผลผลิต ความกว้างใบ ความยาวใบ ความสูงต้น และน้ำหนักเฉลี่ย ไม่มีความแตกต่ำงกันทำงสถิติในทุกกรรมวิธี ส่วนปริมาณสารไนเตรทตกค้างในผลผลิตพบว่า กรรมวิธีให้สารละลายปุ๋ยตลอดอายุผักจนถึงวันเก็บเกี่ยวโดยไม่มีการลดปริมาณสารละลายในสูตรธาตุอาหาร มีปริมาณสารไนเตรทตกค้างสูงที่สุดทั้งในฤดูฝนและฤดูหนาวที่ 2,162.90 และ 1,119.56 mg/kg ตามลำดับ และกรรมวิธีปรับปริมาณสารละลายออกทั้งหมดจากนั้นเติมน้ำเปล่าจนครบปริมาณ ก่อนครบอายุเก็บเกี่ยว 3 วัน ในสูตรธาตุอาหาร ที่ปรับลดสูตรปุ๋ยที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบลง10% โดยน้ำหนัก มีปริมาณสารไนเตรทตกค้างน้อยที่สุดทั้งในฤดูฝนและฤดูหนาว ที่ 745.65 และ 798.41 mg/kg ตามลำดับ สาหรับระยะเวลาในการเก็บรักษาผักที่ 0, 2 และ 4 วันหลังเก็บเกี่ยว ทุกกรรมวิธี ไม่พบว่าทำให้ค่าปริมาณสารไนเตรทตกค้างลดลงอย่างชัดเจน การทดลองที่ 8 ทดสอบสูตรธาตุอาหารและการลดปริมาณไนเตรทในการผลิตผักกาดขาว จังหวัดอุทัยธานี
สมบัติ บวรพรเมธี, สุภาพร สุขโต, สงัด ดวงแก้ว, วรากรณ์ เรือนแก้ว และอรัญญา ภู่วิไล การทดสอบสูตรธาตุอาหารและการลดปริมาณไนเตรทในการผลิตผักกาดขาวจังหวัดอุทัยธานีดำเนินการทดลองในโรงเรือนศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรอุทัยธานี ระหว่างปี 2559 - 2560 เพื่อศึกษาสูตรธาตุอาหารและความเข้มข้นของสารละลายที่เหมาะสมในการลดสารไนเตรทในผักกาดขาวที่ปลูกในสารละลายธาตุอาหารในระบบ DRFTวางแผนการทดลองแบบ 2 X 4 Factorial in RCB จำนวน 3 ซ้ำ มี 2 ปัจจัยที่ 1 คือ สูตรธาตุอาหาร 2 สูตร คือ 1) สูตร KMITL3 และ 2) สูตร KMITL3 ลดไนเตรท 10% และปัจจัยที่ 2 คือ ความเข้มข้นของสารละลายก่อนเก็บเกี่ยว 3 วัน มี 4 ระดับ คือ 1) ความเข้มข้น 1 เท่า 2) ความเข้มข้นสารละลาย 2/3 เท่า 3) ความเข้มข้นสารละลาย 1/2 เท่าและ 4) ให้น้ำเปล่าพบว่า ในฤดูฝน ปี 2559 การปลูกด้วยสูตรธาตุอาหารKMITL3 ร่วมกับการลดความเข้มข้นของสารละลาย 2/3 เท่า 3 วันก่อนเก็บเกี่ยว ให้น้ำหนักสดต่อตารางเมตรสูงสุด 2.83 กิโลกรัมต่อตารางเมตร โดยสูตรธาตุอาหารKMITL3 ให้น้ำหนักต้นสูงกว่าสูตรธาตุอาหาร KMITL3 ลดไนเตรท 10% โดยมีน้ำหนักต้น 212 และ 170 กรัมต่อต้น ตามลำดับ ในฤดูหนาวปี 2560 พบว่า การลดความเข้มข้นของสารละลาย 1/2 เท่าก่อนเก็บเกี่ยว 3 วัน ให้น้ำหนักผลผลิต 2.36 กิโลกรัมต่อตารางเมตร รองลงมา คือ ความเข้มข้น 1 เท่า 2/3 เท่า และน้ำเปล่า โดยมีน้ำหนักผลผลิต 1.96 1.95 และ 1.81กิโลกรัมต่อตารางเมตรตามลำดับ ส่วนในฤดูร้อน และฤดูฝน ปี 2560 ไม่มีความแตกต่ำงกันทำงสถิติในทุกปัจจัย ปริมาณไนเตรทในผักกาดขาวในทุกฤดูการผลิตไม่มีความแตกต่ำงกันทำงสถิติ และมีค่าไม่เกินค่ามาตรฐานที่ 2,500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ยกเว้นในฤดูฝน ปี 2560 ที่มีค่าเฉลี่ย 4,845 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม การทดลองที่ 9 ทดสอบระยะเวลาการเก็บรักษาต่อปริมาณไนเตรทตกค้างและลักษณะทำงกายภาพ ของคะน้าภายหลังการเก็บเกี่ยว
ช่ออ้อย กาฬภักดี และสุรพล สุขพันธ์ การทดสอบระยะเวลาการเก็บรักษาต่อปริมาณไนเตรทตกค้างและลักษณะทำงกายภาพของคะน้าภายหลังการเก็บเกี่ยวทำการทดลองปี 2559 ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนำการเกษตรราชบุรีโดยใช้ปุ๋ยสูตรธาตุอาหาร KMITL3 ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ซึ่งเป็นสูตรอาหารที่ศูนย์วิจัยและพัฒนำการเกษตรราชบุรี ดำเนินการทดสอบในปีงบประมาณ 2554 – 2556 แล้วว่าเหมาะสมในการผลิตผักคะน้าในระบบไฮโดรโพนิกส์จึงได้ทำการทดลองต่อเนื่องถึงปริมาณไนเตรทตกค้างและลักษณะทำงกายภาพของคะน้าภายหลังการเก็บเกี่ยว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาคุณภาพ และปริมาณไนเตรทตกค้างหลังการเก็บเกี่ยวของผักคะน้าที่ปลูกในสารละลายธาตุอาหารที่อายุการเก็บรักษาต่างๆ และสภาพการเก็บรักษาหลังการเก็บเกี่ยวนำคะน้ามาเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 และ 10 องศาเซียลเซียส เป็นเวลา 0,1,2,3,4 และ 5 วัน ตรวจสอบใบเหลือง ส่งตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารไนเตรทตกค้างในห้องปฏิบัติการทุกระยะเวลาการเก็บรักษา ผลการทดลองพบว่าผลวิเคราะห์ไนเตรทตกค้าง ที่การเก็บรักษา ที่อุณหภูมิ 25 และ 10 องศาเซียลเซียส ไม่เกินค่ามาตรฐานทุกระยะเวลาการเก็บรักษา (ค่ามาตรฐานของสหภาพยุโรปกาหนดไว้ที่ 3,000 mg/kg ) ยกเว้นการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 องศาเซียลเซียส เป็นเวลา 1 วัน และการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 10 องศาเซียลเซียส เป็นเวลา 5 วันพบปริมาณ ไนเตรทตกค้าง 3,013.79 และ 3,096.19 mg/kg ตามลำดับ ด้านคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยว เมื่อเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 และ 10 องศาเซียลเซียส พบว่าคะน้าเริ่มมีใบเหลืองในวันที่ 3 ของการเก็บรักษาโดยมีใบเหลือง 1, 2 และ 3 ใบ/ต้น ดังนี้ ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซียลเซียสพบใบเหลือง 38.67, 14.67 และ 5.33 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ที่อุณหภูมิ 10 องศาเซียลเซียส พบใบเหลือง 28.00 , 12.00 และ 4.00 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อเพิ่มระยะการเก็บรักษา คะน้าจะมีใบเหลืองเพิ่มมากขึ้น ทั้งสองอุณหภูมิ แต่การเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 10 องศาเซียลเซียส นั้นพบว่าในขณะที่คะน้าเริ่มมีใบเหลืองในวันที่ 3 พบคะน้าที่ไม่มีใบเหลืองทั้งต้นมากกว่าการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 องศาเซียลเซียส คือ 56.00 และ 41.33 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ การทดลองที่ 10 ทดสอบระยะเวลาการเก็บรักษาต่อปริมาณไนเตรทตกค้างและลักษณะทางกายภาพของผักกาดหอมภายหลังการเก็บเกี่ยว
กุลวดี ฐาน์กาญจน์, นพพร ศิริพานิช และไกรสิงห์ ชูดี ทดสอบระยะเวลาการเก็บรักษาต่อปริมาณไนเตรทตกค้างและลักษณะทางกายภาพของผักกาดหอมภายหลังการเก็บเกี่ยว ทำการทดลองระหว่างเดือนตุลาคม 2558 - กันยายน 2559 ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนำการเกษตรปทุมธานี โดยใช้ปุ๋ยสูตรธาตุอาหาร KMITL3 ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาคุณภาพ และปริมาณไนเตรทตกค้างหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมที่ปลูกในสารละลายธาตุอาหารที่อายุการเก็บรักษาต่างๆ และสภาพการเก็บรักษาหลังการเก็บเกี่ยว นำผักกาดหอมมาเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 และ 10 องศาเซียลเซียส เป็นเวลา 0, 1, 2, 3, 4 และ 5 วัน ตรวจสอบใบเหลือง และส่งตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารไนเตรทตกค้างในห้องปฏิบัติการทุกระยะเวลาการเก็บรักษา ผลการทดลองพบว่า ความกว้างใบ และความสูงต้น ที่ระยะเวลาการเก็บรักษาต่างๆ ไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนน้ำหนักลดลงตามระยะเวลาที่เก็บรักษาทั้งสองอุณหภูมิ จำนวนใบเหลืองหลังการเก็บรักษาพบว่า จำนวนใบเหลืองเพิ่มมากขึ้นตามระยะเวลาที่เก็บรักษา โดยที่อุณหภูมิ 10˚C มีจำนวนใบเหลืองน้อยกว่าที่ อุณหภูมิ 25˚C และเก็บรักษาผักได้นานกว่า ผลวิเคราะห์ปริมาณไนเตรทตกค้าง ที่การเก็บรักษา ที่อุณหภูมิ 25 และ 10 องศาเซียลเซียส ไม่เกินค่ามาตรฐานทุกระยะเวลาการเก็บรักษา แต่พบว่า ค่าปริมาณไนเตรทตกค้างมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากระยะเวลาการเก็บรักษาที่ 0 วัน การทดลองที่ 11 ทดสอบระยะเวลาการเก็บรักษาต่อปริมาณไนเตรทตกค้างและลักษณะทางกายภาพของคื่นช่ายภายหลังการเก็บเกี่ยว
สุภัค กาญจนเกษร, ศิริจันทร์ อินทร์น้อย และศิริจันทร์ อินทร์น้อย การทดสอบระยะเวลาการเก็บรักษาต่อปริมาณไนเตรทตกค้างและลักษณะทางกายภาพของคื่นช่ายภายหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อทดสอบระยะเวลาการเก็บรักษาคื่นช่ายหลังการเก็บเกี่ยวที่มีความสัมพันธ์กับปริมาณไนเตรทที่ตกค้างในผลผลิต ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครปฐม ระหว่างเดือนตุลาคม 2558 ถึงเดือนกันยายน 2559 จากการทดสอบพบว่า ปริมาณสารไนเตรทที่ตกค้าง (mg/kg) ในผักคื่นช่ายที่มีระยะการเก็บรักษาแตกต่างกัน ปริมาณสารไนเตรทตกค้างจากผลผลิตคื่นช่ายสดทุกระยะการเก็บรักษานั้น ไม่พบค่าเกินมาตรฐานโดยทั่วไปที่สำนักงานอาหารและยากำหนดคือ 2,500 mg/kg โดยการตรวจพืชผักทันทีหลังจากการเก็บรักษาที่ระยะต่างๆ พบ สารไนเตรทตกค้างมากที่สุด 2,191.79 mg/kg ส่วนการเก็บรักษาผักคื่นช่ายเป็นเวลา 5 วัน พบปริมาณสารไนเตรทตกค้างน้อยที่สุด 939.74 mg/kg การทดลองที่ 12 ทดสอบอัตราส่วนของวัสดุปลูกทดแทนที่เหมาะสมในการผลิตกะเพรา
เพทาย กาญจนเกษร, อดุลย์รัตน์ แคล้วคลาด, สุภัค กาญจนเกสร และอรัญญา ภู่วิไล การทดสอบอัตราส่วนของวัสดุปลูกทดแทนดินที่เหมาะสมในการผลิตกะเพราเพื่อหาเทคนิคในการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินที่ลดการระบาดของโรคแมลงศัตรูพืช โดยใช้วัสดุปลูกภายในประเทศที่สามารถตอบสนองต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืชได้เป็นอย่างดี ดำเนินการทดสอบที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครปฐม อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ระหว่างเดือนตุลาคม 2558 สิ้นสุดเดือนกันยายน 2560 จากการทดสอบ พบว่าการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของกะเพราเป็นไปในแนวทางเดี่ยวกันทั้งสองปีของการดำเนินงานโดยการปลูกกะเพราในวัสดุปลูกที่มีอัตราส่วนของขุยมะพร้าว ทราย และแกลบดิบ ที่แตกต่างกันมีการเจริญเติบโตใกล้เคียงกัน โดยในระยะการเก็บเกี่ยวผลผลิต (35 วันหลังย้ายปลูก) นั้นกะเพราที่ปลูกในวัสดุปลูกสัดส่วน 2 : 1 : 1 มีค่าเฉลี่ยความสูงลาต้นมากที่สุด ส่วนการปลูกในอัตราส่วนวัสดุปลูก 1 : 2 : 2 มีค่าเฉลี่ยความสูงลาต้นน้อยที่สุด สาหรับความกว้างของทรงพุ่มกะเพรา พบว่าการปลูกกะเพราในวัสดุปลูกอัตรา (2:1:2) (1:2:1) (2:1:1) และ (1:1:1) มีความกว้างทรงพุ่มใกล้เคียงกัน ส่วนการปลูกในอัตราส่วนวัสดุปลูก (1:2:2) มีค่าความกว้างทรงพุ่มน้อยที่สุด สาหรับข้อมูลการให้ผลผลิตของกะเพรานั้น พบว่าการปลูกกะเพราในสัดส่วนวัสดุปลูก (2:1:1) ให้ค่าเฉลี่ยน้ำหนักสดกะเพรารวมต่อต้นมากที่สุด ส่วนการปลูกกะเพราในสัดส่วนวัสดุปลูก (1:1:2) ให้ค่าเฉลี่ยน้ำหนักสดกะเพรารวมต่อต้นน้อยที่สุด การทดลองที่ 13 ทดสอบอัตราส่วนของวัสดุปลูกทดแทนที่เหมาะสมในการผลิตมะเขือเทศพันธุ์ราชินี
เพทำย กาญจนเกษร, อดุลย์รัตน์ แคล้วคลาด, สุภัค กาญจนเกสร, ศิริจันทร์ อินทร์น้อย และอรัญญา ภู่วิไล การทดสอบอัตราส่วนของวัสดุปลูกทดแทนดินที่เหมาะสมในการผลิตมะเขือเทศพันธุ์ราชินีเพื่อหาเทคนิคในการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินที่ลดการระบาดของโรคแมลงศัตรูพืช โดยใช้วัสดุปลูกภายในประเทศที่สามารถตอบสนองต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืชได้เป็นอย่างดี ดำเนินการทดสอบที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครปฐม อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ระหว่างเดือนตุลาคม 2558 สิ้นสุดเดือนกันยายน 2560 จากการทดสอบ พบว่าการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของมะเขือเทศพันธุ์ราชินีเป็นไปในแนวทางเดี่ยวกันทั้งสองปีของการดำเนินงานโดยการปลูกมะเขือเทศราชินีในวัสดุปลูกที่มีอัตราส่วนของขุยมะพร้าว ทราย และแกลบดิบ ที่แตกต่างกันมีการเจริญเติบโตใกล้เคียงกัน โดยในระยะการเก็บเกี่ยวผลผลิต (105 วันหลังย้ายปลูก) นั้นมะเขือเทศราชินีที่ปลูกในวัสดุปลูกสัดส่วน 2 : 2 : 1 มีค่าเฉลี่ยความสูงลาต้นและความกว้างของทรงพุ่มมากที่สุด ส่วนการปลูกในอัตราส่วนวัสดุปลูก 1 : 2 : 2 มีค่าเฉลี่ยความสูงลาต้นและความกว้างของทรงพุ่มน้อยที่สุด สาหรับข้อมูลการให้ผลผลิตของมะเขือเทศราชินีนั้น พบว่า การปลูกมะเขือเทศราชินีในสัดส่วนวัสดุปลูก (2:1:1) ให้ค่าเฉลี่ยน้ำหนักสดมะเขือเทศรวมต่อต้นมากที่สุด ส่วนการปลูกมะเขือเทศในสัดส่วนวัสดุปลูก (1:1:2) ให้ค่าเฉลี่ยน้ำหนักสดมะเขือเทศรวมต่อต้นน้อยที่สุด |