การวิเคราะห์เศรษฐสังคมระบบการผลิตพืชอินทรีย์ในพื้นที่ภาคตะวันออก - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2560 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=33) +--- เรื่อง: การวิเคราะห์เศรษฐสังคมระบบการผลิตพืชอินทรีย์ในพื้นที่ภาคตะวันออก (/showthread.php?tid=2640) |
การวิเคราะห์เศรษฐสังคมระบบการผลิตพืชอินทรีย์ในพื้นที่ภาคตะวันออก - doa - 05-29-2019 การวิเคราะห์เศรษฐสังคมระบบการผลิตพืชอินทรีย์ในพื้นที่ภาคตะวันออก เพ็ญจันทร์ วิจิตร, หฤทัย แก่นลา, สุภาพ สมบัวคู และสุรเดช ปัจฉิมกุล สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคม สภาพการผลิต การตลาด ในระบบการผลิตมังคุดอินทรีย์ เงาะ ลองกอง ของเกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออก ดำเนินการวิจัยโดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือการวิจัย กับเกษตรกรผู้ผลิตไม้ผลอินทรีย์อินทรีย์ในพื้นที่ปลูกภาคตะวันออก ในปีการผลิต 2559-2561 สถิติพรรณนา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทน สถิติอนุมาน การวิเคราะห์สมการด้วย Multiple linear regression ผลการศึกษาพบว่า การวิเคราะห์สมการผลตอบแทนสุทธิ และกำไรสุทธิ ในระบบการผลิตมังคุดอินทรีย์ พบว่า ค่าแรงงาน และช่องทางการตลาด เป็นตัวแปรสามารถใช้ในการทำนายผลตอบแทนสุทธิ และอธิบายได้ 82.30 % (R2=0.823) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และสามารถใช้ในการทำนายกำไรสุทธิ และอธิบายได้ 81.70 % (R2=0.817) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ตามลำดับ การวิเคราะห์สมการผลตอบแทนสุทธิ และกำไรสุทธิ ในระบบการผลิตเงาะอินทรีย์ พบว่า ต้นทุนค่าแรงงาน เป็นตัวแปรสามารถใช้ในการทำนายผลตอบแทนสุทธิ และอธิบายได้ 66.50 % (R2=0.665) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และสามารถใช้ในการทำนายกำไรสุทธิ และอธิบายได้ 65.30 % (R2=0.653) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ตามลำดับ
การวิเคราะห์เศรษฐสังคมระบบการผลิตมังคุดอินทรีย์ในพื้นที่ภาคตะวันออก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคม สภาพการผลิต การตลาด ในระบบการผลิตมังคุดอินทรีย์ของเกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออก ดำเนินการวิจัยโดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือการวิจัย กับเกษตรกรผู้ผลิตมังคุดอินทรีย์ในพื้นที่ปลูกภาคตะวันออก ในปีการผลิต 2559/2560 สถิติพรรณนา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทน สถิติอนุมาน การวิเคราะห์สมการด้วย Multiple linear regression ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ทำการเกษตร เฉลี่ย 13.69 ไร่ พื้นที่ปลูกมังคุดเฉลี่ย 6.01 ไร่ รายได้ฟาร์มเฉลี่ย 361,236.61 บาท/ปี ค่าใช้จ่ายในครัวเรือนเฉลี่ย 203,495.33 บาท/ปี มีแรงงานในครัวเรือนจำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 64.52 ไม่มีแรงงานจ้างคิดเป็นร้อยละ 58.06 ประสบการณ์ผลิตพืชแบบอินทรีย์เฉลี่ย 5.52 ปี สภาพพื้นที่เป็นที่ราบ คิดเป็นร้อยละ 83.87 เกือบทั้งหมดลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย คิดเป็นร้อยละ 96.77 ทั้งหมดมีแหล่งน้ำเพียงพอสำหรับการผลิตพืช ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 13,264 บาท/ไร่ เป็นต้นทุนที่ไม่เป็นเงินสด คิดเป็นร้อยละ 70.37 และเป็นต้นทุนที่เป็นเงินสด คิดเป็นร้อยละ 29.63 ต้นทุนค่าแรงงานเป็นส่วนของต้นทุนที่มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 56.38 ได้รับผลตอบแทนสุทธิ และกำไรสุทธิ เฉลี่ยเท่ากับ 20,465.57 และ 17,432.59 บาท/ไร่ ตามลำดับ การวิเคราะห์สมการผลตอบแทนสุทธิ และกำไรสุทธิ พบว่า ค่าแรงงาน และช่องทางการตลาด เป็นตัวแปรสามารถใช้ในการทำนายผลตอบแทนสุทธิ และอธิบายได้ 82.30 % (R2=0.823) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และสามารถใช้ในการทำนายกำไรสุทธิ และอธิบายได้ 81.70 % (R2=0.817) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ตามลำดับ
การวิเคราะห์เศรษฐสังคมระบบการผลิตเงาะอินทรีย์ในพื้นที่ภาคตะวันออก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคม สภาพการผลิต การตลาด ในระบบการผลิตเงาะอินทรีย์ของเกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออก ดำเนินการวิจัยโดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือการวิจัย กับเกษตรกรผู้ผลิตเงาะอินทรีย์ในพื้นที่ปลูกภาคตะวันออก ในปีการผลิต 2559/2560 สถิติพรรณนา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทน สถิติอนุมาน การวิเคราะห์สมการด้วย Multiple linear regression ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 18.80 ไร่ พื้นที่ปลูกเงาะเฉลี่ย 2.27 ไร่ รายได้ฟาร์มเฉลี่ย 566,678.33 บาท/ปี ค่าใช้จ่ายในครัวเรือนเฉลี่ย 255,930.53 บาท/ปี แรงงานในครัวเรือนจำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 53.33 ประสบการณ์ผลิตพืชแบบอินทรีย์เฉลี่ย 8 ปี สภาพพื้นที่เป็นที่ราบ คิดเป็นร้อยละ 93.33 ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย และมีแหล่งน้ำเพียงพอสำหรับการผลิตพืช ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 13,967.16 บาท/ไร่ เป็นส่วนของต้นทุนที่ไม่เป็นเงินสด ร้อยละ 51.84 และเป็นต้นทุนที่เป็นเงินสด ร้อยละ 48.16 แรงงานเป็นส่วนของต้นทุนที่มีค่ามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 64.05 ได้รับผลตอบแทนสุทธิ และกำไรสุทธิ เฉลี่ยเท่ากับ 27,298.07 และ 27,088.49 บาท/ไร่ ตามลำดับ การวิเคราะห์สมการผลตอบแทนสุทธิ และกำไรสุทธิ พบว่า ต้นทุนค่าแรงงาน เป็นตัวแปรสามารถใช้ในการทำนายผลตอบแทนสุทธิ และอธิบายได้ 66.50 % (R2=0.665) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และสามารถใช้ในการทำนายกำไรสุทธิ และอธิบายได้ 65.30 % (R2=0.653) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ตามลำดับ
การวิเคราะห์เศรษฐสังคมระบบการผลิตลองกองอินทรีย์ในพื้นที่ภาคตะวันออก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคม สภาพการผลิต การตลาด ในระบบการผลิตลองกองอินทรีย์ของเกษตรกรในพื้นที่ภาคตะวันออก ดำเนินการวิจัยโดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือการวิจัย กับเกษตรกรผู้ผลิตลองกองอินทรีย์ในพื้นที่ปลูกภาคตะวันออก ในปีการผลิต 2560/2561 สถิติพรรณนา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทน สถิติอนุมาน การวิเคราะห์สมการด้วย Multiple linear regression ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ทำการเกษตร เฉลี่ย 25.67 ไร่ พื้นที่ปลูกลองกองเฉลี่ย 8.42 ไร่ รายได้ฟาร์มเฉลี่ย 20,818.42 บาท/ไร่/ปี มีแรงงานในครัวเรือนจำนวน 2 ประสบการณ์ผลิตพืชแบบอินทรีย์เฉลี่ย 10.03 ปี สภาพพื้นที่เป็นที่ราบ คิดเป็นร้อยละ 90.00 เกือบทั้งหมดลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย คิดเป็นร้อยละ 93.33 ทั้งหมดมีแหล่งน้ำเพียงพอสำหรับการผลิตพืช ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 5,269.10 บาท/ไร่ เป็นต้นทุนที่ไม่เป็นเงินสด คิดเป็นร้อยละ 49.29 และเป็นต้นทุนที่เป็นเงินสด คิดเป็นร้อยละ 50.71 ต้นทุนค่าแรงงานเป็นส่วนของต้นทุนที่มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 39.52 ได้รับผลตอบแทนสุทธิ และกำไรสุทธิ เฉลี่ยเท่ากับ 18,073.17 บาทต่อไร่ และ 15,395.48 บาทต่อไร่ ตามลำดับ
|