การใช้เชื้อแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis ในการควบคุมหนอนห่อใบข้าว C. medinalis - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2560 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=33) +--- เรื่อง: การใช้เชื้อแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis ในการควบคุมหนอนห่อใบข้าว C. medinalis (/showthread.php?tid=2631) |
การใช้เชื้อแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis ในการควบคุมหนอนห่อใบข้าว C. medinalis - doa - 04-22-2019 การใช้เชื้อแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis ในการควบคุมหนอนห่อใบข้าว Cnaphalocrocis medinalis Guenee อิศเรส เทียนทัด, อนุสรณ์ พงษ์มี และนันทนัช พินศรี สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ทดสอบประสิทธิภาพเชื้อแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis subsp. aizawai (Bta), B. thuringiensis subsp. kurstaki (Btk) และ fipronil 5% SC ในห้องปฏิบัติการกลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช โดยนำหนอนห่อใบข้าวมาเลี้ยงขยายให้ได้ปริมาณมากเพียงพอต่อการทดลอง คัดหนอนทดลองโดยให้อยู่ในวัยเดียวกันและมีขนาดใกล้เคียงกัน จากนั้นนำใบข้าวมาชุบสารทดลองตามกรรมวิธีต่างๆ โดยใช้วิธี leaf dipping ทิ้งไว้ให้สารทดลองแห้ง แล้วปล่อยหนอนลงในพืชทดสอบ ใช้หนอนทดลองซ้ำละ 10 ตัว ตรวจนับการตายของหนอนทุก 24 ชั่วโมง เป็นเวลา 7 วัน ผลการทดลองพบว่าในวันที่ 7 กรรมวิธี Bta อัตรา 40, 60, 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร Btk อัตรา 40, 60, 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ fipronil 5% SC อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และกรรมวิธีควบคุม มีเปอร์เซนต์การตายของหนอน 92.5, 92.5, 95, 95, 95, 100, 90 และ 0 ตัว ตามลำดับ และเนื่องจากไม่มีการระบาดของหนอนห่อใบข้าวในธรรมชาติในปี 2559 และปี 2560 ไม่สามารถทำการทดลองในสภาพไร่ได้
|