คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
พัฒนาเทคนิคการพ่นสารในการป้องกันกำจัดเพลี้ยจักจั่นฝ้ายศัตรูกระเจี๊ยบเขียว - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2560 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=33)
+--- เรื่อง: พัฒนาเทคนิคการพ่นสารในการป้องกันกำจัดเพลี้ยจักจั่นฝ้ายศัตรูกระเจี๊ยบเขียว (/showthread.php?tid=2609)



พัฒนาเทคนิคการพ่นสารในการป้องกันกำจัดเพลี้ยจักจั่นฝ้ายศัตรูกระเจี๊ยบเขียว - doa - 04-22-2019

พัฒนาเทคนิคการพ่นสารในการป้องกันกำจัดเพลี้ยจักจั่นฝ้ายศัตรูกระเจี๊ยบเขียว
สิริกัญญา ขุนวิเศษ, สุชาดา สุพรศิลป์, อิศเรส เทียนทัด และสรรชัย เพชรธรรมรส
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          พัฒนาเทคนิคการพ่นสารในการป้องกันกำจัดเพลี้ยจักจั่นฝ้ายศัตรูกระเจี๊ยบเขียว การทดลองที่ 1 ทำการทดลองทางด้านกายภาพ ด้วยการพ่นสารละลายของสี Saturn yellow ความเข้มข้น 1% บนต้นกระเจี๊ยบเขียวอายุไม่เกิน 2 เดือน ที่แปลงกระเจี๊ยบเขียวของเกษตรกร อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างเดือนธันวาคม 2559 ถึงมกราคม 2560 วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ 5 กรรมวิธี ดังนี้ กรรมวิธีที่ 1 พ่นสีด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบแรงดันน้ำประกอบก้านฉีดประกอบหัวฉีดแบบพัด 3 หัว กรรมวิธีที่ 2 พ่นสีด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบแรงดันน้ำ ประกอบก้านฉีดแบบปรับมุมพ่นที่ด้านท้าย กรรมวิธีที่ 3 พ่นสีด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบแรงดันน้ำประกอบคานหัวฉีดแบบแนวตั้ง (แบบคานเดี่ยว) ประกอบหัวฉีดแบบกรวยกลวง 2 หัว กรรมวิธีที่ 4 พ่นสีด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบแรงดันน้ำประกอบคานหัวฉีดแบบแนวตั้ง (แบบคานเดี่ยว) ประกอบหัวฉีดแบบพัด 2 หัว กรรมวิธีที่ 5 พ่นสีด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบแรงดันน้ำประกอบคานหัวฉีดแบบแนวตั้ง (แบบคานคู่) ประกอบหัวฉีดแบบกรวยกลวง 4 หัว ทุกกรรมวิธีใช้อัตราพ่น 80 ลิตรต่อไร่ หลังพ่นทดลองเก็บใบของต้นกระเจี๊ยบเขียวไปตรวจวัดการแพร่กระจายของละอองสารภายใต้หลอดแสงสีม่วง (Ultraviolet light) โดยให้คะแนนเป็นระดับความหนาแน่น แบ่งเป็นส่วนบนทรงพุ่ม (เหนือลม) บนใบและใต้ใบ, ส่วนบนทรงพุ่ม (ใต้ลม) บนใบและใต้ใบ, ส่วนล่างทรงพุ่ม (เหนือลม) บนใบและใต้ใบ และส่วนล่างทรงพุ่ม (ใต้ลม) บนใบและใต้ใบ จากผลการทดลองพบว่า ค่าเฉลี่ยของความหนาแน่นของละอองสารโดยรวมในกรรมวิธีที่ 5 พ่นสีทดลองด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบแรงดันน้ำประกอบคานหัวฉีดแบบแนวตั้ง (แบบคานคู่) ประกอบหัวฉีดแบบกรวยกลวง 4 มีค่าเฉลี่ยความหนาแน่นของละอองสารโดยรวมสูงที่สุด สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการพ่นสารเพื่อป้องกันกำจัดเพลี้ยจักจั่นฝ้ายในกระเจี๊ยบเขียวต่อไป ส่วนการทดลองที่ 2 การทดสอบประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงในการป้องกันกำจัดเพลี้ยจักจั่นฝ้ายในกระเจี๊ยบเขียว จะทำการทดลองในปีถัดไป