คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การทดลองประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดวัชพืชชนิดใหม่ในคะน้า - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2560 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=33)
+--- เรื่อง: การทดลองประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดวัชพืชชนิดใหม่ในคะน้า (/showthread.php?tid=2601)



การทดลองประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดวัชพืชชนิดใหม่ในคะน้า - doa - 04-19-2019

การทดลองประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดวัชพืชชนิดใหม่ในคะน้า
ภัทร์พิชชา รุจิระพงศ์ชัย, คมสัน นครศรี และอมฤต ศิริอุดม
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การทดสอบประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชชนิดใหม่ในคะน้า เพื่อให้ได้สารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอกที่มีประสิทธิภาพ ประหยัด ปลอดภัย ลดต้นทุน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในการปลูกคะน้า ได้ดำเนินการทดลองในแปลงเกษตรกรอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างเดือนตุลาคม 2559 - กันยายน 2560 วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 3 ซ้ำ มี 15 กรรมวิธี ได้แก่ การพ่นสารกำจัดวัชพืช pendimethalin 33% EC, dimethenamid 90% EC, clomazone 48% EC, s-metolachlor 96% EC, acetochlor 50% EC, oxyfluorfen 23.5% EC, sulfentrazone 48% EC, oxadiazon 25% EC, metolachlor 72% EC, flumioxazin 50% WP, trifluralin 48% W/V EC, alachlor 48% W/V EC อัตรา 198, 108, 115.2, 144, 250, 36, 115.2, 150, 336, 20, 288 และ 320 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ พ่นคลุมดินก่อนหวานเมล็ด 3 วัน เปรียบเทียบกับกรรมวิธีกำจัดวัชพืชด้วยมือ และไม่กำจัดวัชพืช การพ่นสารกำจัดวัชพืช clomazone 48% EC หลังคะน้างอกใบคะน้าจะมีอาการ ขาวซีดถึงระยะ 15 วันหลังพ่นสาร และสามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติ และการพ่นสารกำจัดวัชพืช dimethanamid 90% W/V EC, oxadiazon 25% W/V EC และ trifluralin 48% W/V EC พ่นคลุมดินหลังหว่านคะน้า 3 วัน คะน้าเป็นพิษเล็กน้อยถึงปาน แต่มีประสิทธิภาพในการควบคุม หญ้าดอกขาว หญ้ายาง ลูกใต้ใบ ผักโขม และกะเม็งได้ดี ไม่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตอีกทั้งยังมีแนวโน้มให้ผลผลิตมากที่สุด