ทดลองประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดเพลี้ยจักจั่นฝ้าย, Amrasca biguttula biguttula - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2560 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=33) +--- เรื่อง: ทดลองประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดเพลี้ยจักจั่นฝ้าย, Amrasca biguttula biguttula (/showthread.php?tid=2583) |
ทดลองประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดเพลี้ยจักจั่นฝ้าย, Amrasca biguttula biguttula - doa - 04-18-2019 ทดลองประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดเพลี้ยจักจั่นฝ้าย, Amrasca biguttula biguttula (Ishida) ในมะเขือเปราะ สุชาดา สุพรศิลป์, พฤทธิชาติ ปุญวัฒโท, นลินา ไชยสิงห์, สิริกัญญา ขุนวิเศษ และสรรชัย เพชรธรรมรส สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช การทดลองประสิทธิภาพสารป้องกันกำจัดเพลี้ยจักจั่นฝ้าย, Amrasca biguttula biguttula (Ishida) ในมะเขือเปราะ ทำการทดลองระหว่างเดือนธันวาคม 2559 - กุมภาพันธ์ 2560 ดำเนินการทดลองที่แปลงมะเขือเปราะของเกษตรกร อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Desize มี 4 ซ้ำ 6 กรรมวิธี ได้แก่ สาร buprofezin 40% SC, etofenprox 20% EC, imidacloprid 70% WG และ flonicamid 50% WG อัตรา 20, 40, 10 และ 20 มล./น้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ เปรียบเทียบกับสาร imidacloprid 10% SL อัตรา 40 มล./น้ำ 20 ลิตร และกรรมวิธีไม่พ่นสาร เริ่มพ่นสารตามกรรมวิธีตำงๆ เมื่อมะเขือเปราะอายุ 40 วัน หลังย้ายกล้าปลูก พบว่าสารกำจัดแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดตัวอ่อนเพลี้ยจักจั่นฝ้ายในมะเขือเปราะเทียบเท่าถึงดีกว่าสารเปรียบเทียบ imidacloprid 10% SL อัตรา 40 มล./น้ำ 20 ลิตร ได้แก่ สาร flonicamid 50% WG อัตรา 20 กรัม/น้ำ 20 ลิตร buprofezin 40% SC อัตรา 20 มล./น้ำ 20 ลิตร imidacloprid 70% WG อัตรา 10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร และการพ่นสารทุกกรรมวิธีไม่พบอาการเป็นพิษกับมะเขือเปราะ
|