ชีววิทยาของวัชพืช Asystasia gangetica (L.) T. Anderson - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2560 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=33) +--- เรื่อง: ชีววิทยาของวัชพืช Asystasia gangetica (L.) T. Anderson (/showthread.php?tid=2570) |
ชีววิทยาของวัชพืช Asystasia gangetica (L.) T. Anderson - doa - 04-04-2019 ชีววิทยาของวัชพืช Asystasia gangetica (L.) T. Anderson จรัญญา ปิ่นสุภา, ปรัชญา เอกฐิน และวิไล อินทรเจริญสุข สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ศึกษาชีววิทยาของวัชพืช Asystasia gangetica (L.) T. Anderson ชื่อไทยว่า บาหยา ซึ่งเป็นวัชพืชที่สำคัญในพืชปลูก ได้แก่ ไม้ผล ยางพารา ปาล์มน้ำมัน สับปะรด เป็นต้น การศึกษาข้อมูลทางชีววิทยาจะเป็นข้อมูลพื้นฐานสำคัญในการหาแนวทางการควบคุมและป้องกันกำจัดที่เหมาะสมต่อไป ดำเนินการทดลอง ในเรือนทดลองและห้องปฏิบัติการ กลุ่มวิจัยวัชพืช ในเดือนตุลาคม 2559 - ตุลาคม 2560 การศึกษาชีววิทยาของต้น บาหยา (Asystasia gangetica) ประกอบด้วยการศึกษาวงจรชีวิทยา การเจริญเติบโต และการขยายพันธุ์พบว่า บาหยา เป็นวัชพืชอายุข้ามปี สามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งเมล็ดและลำต้น หลังจากเมล็ดงอกประมาณ 1 สัปดาห์ มีใบจริงเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้าม และมีการเจริญเติบโตทางด้านใบและลำต้นอย่างรวดเร็ว สร้างเมล็ดที่ระยะ 7 สัปดาห์หลังงอกและหลังจากดอกบาน 2 - 3 สัปดาห์ หรือเมล็ดสุกแก่ 9 - 10 สัปดาห์หลังงอก และในช่วง 15 สัปดาห์หลังงอก ต้นบาหยาติดผลมากที่สุด จากนั้นในช่วง 19 สัปดาห์หลังงอก การเจริญเติบโตลดลงทั้งทางด้านลำต้น ใบ การสร้างผลและเมล็ดลดลง การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดพบว่า เมล็ดอยู่บนผิวดิน มีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูงถึง 92.8 เปอร์เซ็นต์ หากเมล็ดอยู่ในระดับความลึกของดิน 15 เซนติเมตร เมล็ดไม่สามารถงอกได้ เช่นเดียวกับส่วนของลำต้น
|