การจำแนกชนิดแบคทีเรียสาเหตุโรคใบแห้งของหอม - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2560 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=33) +--- เรื่อง: การจำแนกชนิดแบคทีเรียสาเหตุโรคใบแห้งของหอม (/showthread.php?tid=2553) |
การจำแนกชนิดแบคทีเรียสาเหตุโรคใบแห้งของหอม - doa - 03-13-2019 การจำแนกชนิดแบคทีเรียสาเหตุโรคใบแห้งของหอม ทิพวรรณ กันหาญาติ, ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล, บูรณี พั่ววงษ์แพทย์, รุ่งนภา ทองเคร็ง และกาญจนา ศรีไม้ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช จำแนกชนิดแบคทีเรียสาเหตุโรคใบแห้งของหอม ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 – กันยายน 2560 โดยฟื้นฟูเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas sp. ที่เก็บรักษาไว้ใน culture collection ของกลุ่มวิจัยโรคพืช ได้จำนวน 6 ไอโซเลท และเก็บตัวอย่างหอมที่มีลักษณะอาการคล้ายโรคใบแห้งของหอมจากจังหวัดตาก ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย อุบลราชธานี สุรินทร์ สุโขทัย พะเยา อุตรดิตถ์ และเพชรบูรณ์ นำมาแยกเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคพืช พบว่าได้เชื้อแบคทีเรียที่มีลักษณะคล้าย Xanthomonas sp. จำนวน 1 ไอโซเลท ทดสอบการเกิดโรคกับหอมแดง พบว่าเชื้อแบคทีเรียที่แยกได้จากตัวอย่างหอมสามารถทำให้หอมแดงเกิดโรคได้ ศึกษาคุณสมบัติทางชีวเคมีและฟิสิกส์ของเชื้อพบว่า เชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคใบแห้งของหอมเป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปร่างเป็นท่อน สามารถเคลื่อนที่ได้ เจริญได้ในสภาพที่มีอากาศ เจริญได้ในอาหารที่มีเกลือ 4% เชื้อสามารถสร้างเอนไซม์ catalase สามารถผลิตเอนไซม์ tryptophanase ทำให้มี indole เกิดขึ้น เชื้อสามารถย่อยแป้งและ esculin ได้ ใช้ citrate เป็นแหล่งคาร์บอน และสร้างกรดจาก cellobiose lactose และ glycerol ได้ แต่ไม่สามารถผลิตเอนไซม์ oxidase และ arginine dihydrolase ไม่สามารถเปลี่ยนไนเตรทเป็นไนไตร์ท
|