ความหลากชนิดและความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของหนูหริ่งสกุล Mus (Rodentia: Muridae: Murina - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2560 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=33) +--- เรื่อง: ความหลากชนิดและความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของหนูหริ่งสกุล Mus (Rodentia: Muridae: Murina (/showthread.php?tid=2546) |
ความหลากชนิดและความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของหนูหริ่งสกุล Mus (Rodentia: Muridae: Murina - doa - 01-28-2019 ความหลากชนิดและความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของหนูหริ่งสกุล Mus (Rodentia: Muridae: Murinae) ที่พบในประเทศไทย วิชาญ วรรธนะไกวัล, ปราสาททอง พรหมเกิด, สมเกียรติ กล้าแข็ง และทรงทัพ แก้วตา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช การศึกษาความหลากชนิดและความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของหนูหริ่งสกุล Mus (Rodentia:Muridae: Murinae) ที่พบในประเทศไทย ระหว่างเดือนตุลาคม 2559 - กันยายน 2560 ได้ตัวอย่างหนูหริ่งศัตรูพืช จากการใช้กรงดักชนิดจับเป็นจำนวน 60 ตัวอย่าง จาก 5 จังหวัด ในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย พบว่าหนูหริ่งนาหางสั้น (Mus cervicolor) มีน้ำหนักและขนาดลำตัวโดยเฉลี่ยใหญ่กว่าหนูหริ่งนาหางยาว (Mus caroli) แต่มีความยาวของหางที่สั้นกว่า ในขณะที่การเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมด้วยเทคนิค PCR โดยใช้ไพรเมอร์ จำนวน 2 คู่ ได้แก่ บริเวณยีนไซโตโครม บี และบริเวณ ยีนไซโตโครม ซี ออกซิเดส ในไมโตคอนเดรียล ดีเอ็นเอ พบว่าหนูหริ่งนาหางยาว ให้แถบดีเอ็นเอขนาด 1,000 คู่เบส และ 800 คู่เบส ส่วนหนูหริ่งนาหางสั้นให้แถบดีเอ็นเอขนาด 1,200 คู่เบส และ 700 คู่เบส ตามลำดับ
การศึกษาครั้งนี้ยังไม่เสร็จสิ้น ยังต้องทำการเก็บตัวอย่างเพิ่มเติม และนำมาวิเคราะห์ทางสถิติศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของกะโหลก และลักษณะทางพันธุกรรมต่อไป
|