อนุกรมวิธานเพลี้ยจักจั่นศัตรูมะม่วง (Hemiptera: Cicadellidae) ในประเทศไทย - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2560 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=33) +--- เรื่อง: อนุกรมวิธานเพลี้ยจักจั่นศัตรูมะม่วง (Hemiptera: Cicadellidae) ในประเทศไทย (/showthread.php?tid=2543) |
อนุกรมวิธานเพลี้ยจักจั่นศัตรูมะม่วง (Hemiptera: Cicadellidae) ในประเทศไทย - doa - 01-28-2019 อนุกรมวิธานเพลี้ยจักจั่นศัตรูมะม่วง (Hemiptera: Cicadellidae) ในประเทศไทย เกศสุดา สนศิริ, จารุวัตถ์ แต้กุล, ยุวรินทร์ บุญทบ, สุนัดดา เชาวลิต, ชมัยพร บัวมาศ, อิทธิพล บรรณาการ และจอมสุรางค์ ดวงธิสาร สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช เพลี้ยจักจั่น (leafhopper) จัดอยู่ในวงศ์ Cicadellidae อันดับย่อย Auchenorrhyncha อันดับ Hemiptera ประกอบด้วย 40 วงศ์ย่อย (subfamily) มากกว่า 170 สกุล (genus) ปัจจุบันพบเพลี้ยจักจั่นในวงศ์นี้แล้ว 20,000 ชนิด มีเขตการแพร่กระจายทั้งเขตอบอุ่นและเขตร้อน (Knight,2010) ประเทศไทยมีรายงานพบเพลี้ยจักจั่นศัตรูมะม่วง 4 สกุล 8 ชนิด (วารี, 2543) เพลี้ยจักจั่นเป็นศัตรูสำคัญของมะม่วง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยทำลายมะม่วงโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากช่ออ่อน ยอดอ่อน ช่อดอก ทำให้ใบหงิก และขอบใบไหม้ไม่สามารถผลิช่อดอก ดอกแห้งและร่วง ติดผลน้อยหรือไม่ติดผลนอกจากนี้ในขณะที่ดูดกินน้ำเลี้ยง เพลี้ยจักจั่นจะถ่ายมูลมีลักษณะเป็นของเหลวเหนียวๆ คล้ายน้ำหวานเรียกว่า Honey dew หรือมูลหวาน ติดตามช่อดอกและใบ และรอบๆทรงพุ่ม มูลน้ำหวานนี้เป็นอาหารของราดำ (sooty mold) ทำให้ราดำมีการเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ปกคลุมใบ ช่อดอกซึ่งมีผลกระทบต่อการสังเคราะห์แสงของใบ (Nene, 2001; Butani, 1979; Sen and Chaudhari, 1961) วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อให้ทราบชนิด พืชอาหาร และเขตการแพร่กระจาย พร้อมจัดทำแนวทางการวินิจฉัยชนิด นอกจากนี้ข้อมูลที่ได้จากการศึกษายังสามารถนำไปใช้ในการจัดทำบัญชีรายชื่อแมลงศัตรูพืชและวิเคราะห์ความเสี่ยงแมลงศัตรูพืช ในการนำเข้าและส่งออกผลผลิตทางการเกษตร จากการศึกษาโดยการสำรวจและเก็บรวบรวมตัวอย่างเพลี้ยจักจั่นในสกุลนี้จากแปลงปลูกมะม่วงทั่วภูมิภาคของประเทศไทย ระหว่างเดือน ตุลาคม 2559 ถึงมีนาคม 2561 ได้ตัวอย่างเพลี้ยจักจั่นมะม่วงวงศ์ Cicadellidae จำนวน 7,651 ตัวอย่าง จำแนกชนิดโดยใช้แนวทางวินิจฉัยตาม Fletcher (2009) และ Knigh (2010) สามารถจำแนกได้ 3 ชนิด ได้แก่ เพลี้ยจักจั่นมะม่วง: dioscopus clypealis (Lethierry, 1889), Idioscopus nitidulus (Walker, 1870) และ Idioscopus nagpurensis (Pruthi, 1930) ตัวอย่างทั้งหมดนำเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์แมลง กรมวิชาการเกษตร
|