คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ความต้านทานและการจัดการความต้านทานสารกำจัดไรต่อไรแมงมุมคันซาวา T. kanzawai ในกุหลาบ - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2560 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=33)
+--- เรื่อง: ความต้านทานและการจัดการความต้านทานสารกำจัดไรต่อไรแมงมุมคันซาวา T. kanzawai ในกุหลาบ (/showthread.php?tid=2539)



ความต้านทานและการจัดการความต้านทานสารกำจัดไรต่อไรแมงมุมคันซาวา T. kanzawai ในกุหลาบ - doa - 01-17-2019

ความต้านทานและการจัดการความต้านทานสารกำจัดไรต่อไรแมงมุมคันซาวา T. kanzawai ในกุหลาบ
อัจฉราภรณ์ ประเสริฐผล, พิเชฐ เชาวน์วัฒนวงศ์, พลอยชมพู กรวิภาสเรือง และอทิติยา แก้วประดิษฐ์
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ไรแมงมุมคันซาวา Tetranychus kanzawai Kishida เป็นศัตรูสำคัญของกุหลาบ ฝ้ายและพืชเศรษฐกิจอีกหลายชนิด ปัจจุบันในแหล่งปลูกกุหลาบที่สำคัญในประเทศไทย เกษตรกรมีการใช้สารเคมีอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดปัญหาสารเคมีที่แนะนำเริ่มมีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดน้อยลงการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้านทานและการจัดการความต้านทานสารกำจัดไรต่อไร แมงมุมคันซาวา T. kanzawai ในกุหลาบ ดำเนินการทดลองระหว่างเดือนตุลาคม 2559 – กันยายน 2560 ในห้องปฏิบัติการที่อุณหภูมิ 26.49 ± 0.07 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60.04 ± 0.86 %RH ผลการทดลองพบว่า เปอร์เซ็นต์การตายของไรแมงมุมคันซาวา T. kanzawai ต่อสารป้องกันกำจัดไรต่างๆ ที่อัตราแนะนำ สารป้องกันกำจัดไรไพริดาเบน (pyridaben) มีผลต่อการตายของไรแมงมุมคันซาวาจากทุกพื้นที่ 100% สารป้องกันกำจัดไรที่ให้ผลรองลงมาและสามารถฆ่าไรได้มากกว่า 85% ขึ้นไป คือ ไซฟลูมีโทเฟน (cyflumetofen) และอะมิทราซ (amitraz) จาก ต.ช่องแคบ อ.พบพระ จ.ตาก (Tak 1) ต.สมเด็จเจริญ อ.หนองปรือ จ.กาญจนบุรี และ ต.วังน้ำซับ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี ส่วนสารป้องกันกำจัดไรชนิดอื่น คือ เฟนไพรอกซิเมต (fenpyroximate) สไปโรมีซิเฟน (spiromesifen) และเฟนบูทาทินออกไซด์ (fenbutatin oxide) สามารถฆ่าไรได้ประมาณ 20 - 80% เท่านั้น ซึ่งผลการทดลองนี้สามารถทำให้ทราบประสิทธิภาพสารกำจัดไรที่ดีในการป้องกันกำจัด ณ ช่วงเวลาปัจจุบันสามารถนำมาใช้ในการหมุนเวียน เพื่อลดปริมาณไรแมงมุมคันซาวาในแปลงกุหลาบ และลดปัญหาความต้านทาน รวมไปถึงสามารถวางแผนจัดการความต้านทานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น