คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
เทคนิคการพ่นสารแบบต่างๆ ในการป้องกันกำจัดหนอนกระทู้หอม - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2560 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=33)
+--- เรื่อง: เทคนิคการพ่นสารแบบต่างๆ ในการป้องกันกำจัดหนอนกระทู้หอม (/showthread.php?tid=2519)



เทคนิคการพ่นสารแบบต่างๆ ในการป้องกันกำจัดหนอนกระทู้หอม - doa - 01-15-2019

เทคนิคการพ่นสารแบบต่างๆ ในการป้องกันกำจัดหนอนกระทู้หอม Spodoptera exigua HÜbner ในหน่อไม้ฝรั่งโดยการใช้เชื้อ Bacillus thuringiensis
สิริกัญญา ขุนวิเศษ, สุชาดา สุพรศิลป์, อิศเรส เทียนทัด และสรรชัย เพชรธรรมรส
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

  ศึกษาเทคนิคการพ่นเชื้อแบบต่างๆ ในการป้องกันกำจัดหนอนกระทู้หอม (Spodoptera exigua HÜbner) ในหน่อไม้ฝรั่ง โดยการใช้เชื้อ Bacillus thuringiensis ดำเนินการที่แปลงเกษตรกร อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม 2559 วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ 5 กรรมวิธี ดังนี้ กรรมวิธีที่ 1 พ่นสารด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบใช้แรงลม ประกอบหัวฉีดแบบใบพัด อัตราพ่น 20 ลิตรต่อไร่ กรรมวิธีที่ 2 พ่นสารด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบใช้แรงลม ประกอบหัวฉีดแบบฝักบัว อัตราพ่น 40 ลิตรต่อไร่ กรรมวิธีที่ 3 พ่นสารด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบแรงดันน้ำ ประกอบก้านฉีดแบบคานคู่แนวตั้ง 2 ข้างใช้หัวฉีดแบบพัด อัตราพ่น 120 ต่อไร่ กรรมวิธีที่ 4 พ่นสารด้วยเครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบแรงดันน้ำ ประกอบหัวฉีดแบบปรับมุมพ่นด้านท้าย อัตราพ่น 120 ลิตรต่อไร่ (วิธีการของเกษตรกร) กรรมวิธีที่ 5 ไม่พ่นสาร ตามลำดับ ทุกกรรมวิธีที่พ่นสาร พ่นด้วยเชื้อ Bt (Xentari) อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นสารทดลอง 3 ครั้ง ทุก 4 วัน ผลการทดลองพบว่า ทุกกรรมวิธีที่พ่นเชื้อมีประสิทธิภาพดี ในการป้องกันกำจัดหนอนกระทู้หอมในหน่อไม้ฝรั่งได้ดีกว่ากรรมวิธีไม่พ่นสารและกรรมวิธีพ่นสารแบบน้ำน้อย โดยการใช้เครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบใช้แรงลม มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนกระทู้หอมในหน่อไม้ฝรั่งได้ดี ไม่แตกต่างกับกรรมวิธีพ่นสารแบบน้ำมาก โดยการใช้เครื่องยนต์พ่นสารสะพายหลังแบบแรงดันน้ำสูง แตํใช้เวลาในการพ่นและเวลาเติมสารน้อยกว่า และจะทำการทดลองซ้ำในปีถัดไป