การควบคุมโรคเน่าดำในกล้วยไม้ ที่มีสาเหตุจากเชื้อ Phytophthora palmivora (Butl.) - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2560 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=33) +--- เรื่อง: การควบคุมโรคเน่าดำในกล้วยไม้ ที่มีสาเหตุจากเชื้อ Phytophthora palmivora (Butl.) (/showthread.php?tid=2508) |
การควบคุมโรคเน่าดำในกล้วยไม้ ที่มีสาเหตุจากเชื้อ Phytophthora palmivora (Butl.) - doa - 12-17-2018 การควบคุมโรคเน่าดำในกล้วยไม้ ที่มีสาเหตุจากเชื้อ Phytophthora palmivora (Butl.) โดยใช้สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเห็ดเรืองแสง Neonothopanus nambi (Speg.)สุรีย์พร บัวอาจ, บุษราคัม อุดมศักดิ์, ไตรเดช ข่ายทอง และรุ่งนภา คงสุวรรณ์ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช โรคเน่าดำ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา Phytophthora palmivora (Butl.) เป็นโรคที่มีความสำคัญทำความเสียหายให้กับกล้วยไม้หลายสกุล การวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเห็ดเรืองแสงสิรินรัศมี Neonothopanus nambi ในการควบคุมโรคเน่าดำของกล้วยไม้ ซึ่งดำเนินการทดลองระหว่างเดือนตุลาคม 2558 – กันยายน 2560 ณ ห้องปฏิบัติการและโรงเรือนทดสอบกลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช จากการทดสอบสารออกฤทธิ์จากเห็ดเรืองแสงในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา P. palmivora บนอาหาร PDA พบว่า สารออกฤทธิ์จากเห็ดเรืองแสงทั้งในรูปแบบของสารสกัด (aurisin A) และน้ำคั้นจากเชื้อเห็ด (culture filtrate) ทุกความเข้มข้นสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อรา P. palmivora ได้ดี ไม่แตกต่างกับกรรมวิธีที่ใช้สารเคมี ส่วนกรรมวิธีเปรียบเทียบที่ใช้น้ำกลั่นนึ่งฆ่าเชื้อ พบเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นใยเชื้อรา ที่ 3, 5 และ 7 วัน เส้นใยแผ่และเจริญ 4.15, 7.3 และ 9.0 เซนติเมตร ตามลำดับ เช่นเดียวกับการทดสอบการยับยั้งการสร้าง sporangium ของเชื้อรา P. palmivora พบว่า ทุกความเข้มข้นของสารออกฤทธิ์จากเห็ดเรืองแสง สามารถยับยั้งการสร้าง sporangium และเส้นใยได้ดี โดยเฉพาะสาร aurisin A ที่ระดับความเข้มข้น 100 และ 500 mg/l และ culture filtrate ที่ระดับความเข้มข้น 75 และ 100 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการยับยั้งการเกิดแผลบนใบกล้วยไม้สกุลแวนดา ด้วยวิธี detached leaf technique หลังการปลูกเชื้อ ที่ 3 วัน พบว่า culture filtrate ที่ความเข้มข้น 100 เปอร์เซ็นต์ ให้ผลดีสุด (0.23 เซนติเมตร) โดยไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P<0.01) กับกรรมวิธีที่ใช้สารเคมี (0.01 เซนติเมตร) แต่แตกต่างกันทางสถิติกับกรรมวิธีเปรียบเทียบ (2.45 เซนติเมตร) และผลการทดสอบรูปแบบการใช้สารออกฤทธิ์จากเห็ดเรืองแสงในสภาพโรงเรือน พบว่าขนาดแผลที่เกิดขึ้นในแต่ละกรรมวิธีมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติกับกรรมวิธีเปรียบเทียบ และผลการทดสอบระยะการพ่นสารออกฤทธิ์จากเห็ดเรืองแสงในสภาพโรงเรือน พบว่าระยะเวลาพ่นสารออกฤทธิ์จากเห็ดเรืองแสง ทุก 3 วัน ให้ผลดีกว่าการพ่นสารทุก 5 วัน
|