คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การคัดเลือกและทดสอบเชื้อราปฏิปักษ์ที่มีศักยภาพในการควบคุมเชื้อรา Didymella bryoniae - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2560 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=33)
+--- เรื่อง: การคัดเลือกและทดสอบเชื้อราปฏิปักษ์ที่มีศักยภาพในการควบคุมเชื้อรา Didymella bryoniae (/showthread.php?tid=2507)



การคัดเลือกและทดสอบเชื้อราปฏิปักษ์ที่มีศักยภาพในการควบคุมเชื้อรา Didymella bryoniae - doa - 12-17-2018

การคัดเลือกและทดสอบเชื้อราปฏิปักษ์ที่มีศักยภาพในการควบคุมเชื้อรา Didymella bryoniae สาเหตุโรคยางไหล
ทัศนาพร ทัศคร, วัชรี วิทยวรรณกุล และบังอร นวลศรี
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ทำการคัดเลือกและทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อราปฏิปักษ์ Trichoderma spp. จากปี 2558 - 2559 จำนวน 31 ไอโซเลท ได้แก่ ไอโซเลท TC59-01 – TC59-031 ในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา D. bryoniae สาเหตุโรคยางไหลในห้องปฏิบัติการ ผลการทดลองพบว่า เชื้อราปฏิปักษ์ Trichoderma spp. ทั้ง 31 ไอโซเลท มีประสิทธิภาพที่ดีมากในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราสาเหตุโรคบนอาหารเลี้ยงเชื้อ ซึ่งเชื้อรา Trichoderma spp. สามารถเจริญคลุมทับเส้นใยเชื้อราสาเหตุโรค และมีกลไกในการควบคุมไม่ให้เส้นใยเชื้อราสาเหตุโรคมีการเจริญได้ภายใน 3 วัน จากนั้นได้คัดเลือกเชื้อรา Trichoderma spp. จำนวน 10 ไอโซเลท ที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด ได้แก่ ไอโซเลท TC59-04, TC59-05, TC59-06, TC59-07, TC59-08, TC59-10, TC59-16, TC59-19, TC59-26 และ TC59-30 มาทำการทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเกิดแผลบนต้นและใบพืชใน สภาพโรงเรือนทดลอง โดยวิธีการพ่นสปอร์แขวนลอยของเชื้อรา Trichoderma spp. และวิธีราดสปอร์แขวนลอยของเชื้อราปฏิปักษ์แต่ละไอโซเลทลงในดิน จำนวน 4 ครั้ง ทุก 7 วัน และทำการประเมินการเกิดโรคและการวัดขนาดของแผลที่เกิดขึ้นทุกครั้งก่อนการการพ่นเชื้อราปฏิปักษ์ เปรียบเทียบกับวิธีการพ่นน้ำเปล่าซึ่งจากผลการทดลองพบว่า เชื้อรา Trichoderma spp. ที่มีประสิทธิภาพสามารถยับยั้งการเกิดแผลได้ดีทั้งในใบและลำต้น มีอย่างน้อย 5 ไอโซเลท ได้แก่ ไอโซเลท TC59-05, TC59-07, TC59-26, TC59-16 และ TC59-19 ซึ่งในการศึกษาครั้งต่อไป สามารถนำเชื้อรา Trichoderma spp. ที่มีประสิทธิภาพไปพัฒนารูปแบบการนำไปใช้ในสภาพแปลงทดลองต่อไป