คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ศักยภาพของเชื้อราโรคแมลง (entomopathogenic fungi) ในการควบคุมแมลงวันผลไม้ - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2560 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=33)
+--- เรื่อง: ศักยภาพของเชื้อราโรคแมลง (entomopathogenic fungi) ในการควบคุมแมลงวันผลไม้ (/showthread.php?tid=2505)



ศักยภาพของเชื้อราโรคแมลง (entomopathogenic fungi) ในการควบคุมแมลงวันผลไม้ - doa - 12-17-2018

ศักยภาพของเชื้อราโรคแมลง (entomopathogenic fungi) ในการควบคุมแมลงวันผลไม้ (Bactrocera dorsalis)
เมธาสิทธิ์ คนการ อิสเรส เทียนทัด ณัฏฐิณี ศิริมาจันทร์ เสาวนิตย์ โพธิ์พูนศักดิ์
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา ส านักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          เชื้อราทุกไอโซเลตมีศักยภาพในการควบคุมแมลงวันผลไม้ตัวเต็มวัยแต่มีเปอร์เซ็นต์เข้าทำลายที่ต่างกันในวันที่ 8 หลังการปลูกเชื้อรา คือ เชื้อรา Beauveria sp. B4 มีประสิทธิภาพสูงสุด 99.50 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา คือ เชื้อรา Metarhizium sp.M14 87.92 เปอร์เซ็นต์และ Metarhizium sp. M22 86.50 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับแมลงวันผลไม้ตัวเต็มวัยจะเริ่มติดเชื้อราตายในวันทึ่ 3 และสามารถมองเห็นโคนิเดียบนตัวแมลงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 - 5 หลังจากการปลูกเชื้อรา ในดักแด้แมลงวันผลไม้พบว่า อัตราเปอร์เซนต์การติดเชื้อราโรคแมลงต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับตัวเต็มวัย โดยจะเริ่มติดเชื้อราในวันที่ 5 หลังจากการปลูกเชื้อ และสามารถมองเห็นโคนิเดียบนตัวแมลงอย่างชัดเจนในวันที่ 6 - 8 หลังจากการปลูกเชื้อรา ในการทดลองนี้เชื้อราไม่ได้สัมผัสกับดักแด้หรือตัวแมลงที่เพิ่งฟักออกมาโดยตรงและความชื้นสัมพัทธ์ในกล่องควบคุมความชื้นค่อนข้างต่ำ ส่งผลทำให้เปอร์เซ็นต์การติดเชื้อราในอัตราที่ต่ำกว่าอัตราการติดเชื้อราในตัวเต็มวัย ซึ่งเชื้อราที่มีประสิทธิภาพสูงสุด คือ Metarhizium sp.M42 46 เปอร์เซนต์ รองลงมา คือ Metarhizium sp. M25 40 เปอร์เซนต์ และ Metarhizium sp.M22 ตามลำดับ