คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ศักยภาพของราสาเหตุโรคแมลงบางชนิดในการควบคุมเพลี้ยจักจั่นฝ้าย Amrasca biguttula bigutt - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2560 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=33)
+--- เรื่อง: ศักยภาพของราสาเหตุโรคแมลงบางชนิดในการควบคุมเพลี้ยจักจั่นฝ้าย Amrasca biguttula bigutt (/showthread.php?tid=2504)



ศักยภาพของราสาเหตุโรคแมลงบางชนิดในการควบคุมเพลี้ยจักจั่นฝ้าย Amrasca biguttula bigutt - doa - 12-17-2018

ศักยภาพของราสาเหตุโรคแมลงบางชนิดในการควบคุมเพลี้ยจักจั่นฝ้าย Amrasca biguttula biguttula (Ishida)
เมธาสิทธิ์ คนการ และเสาวนิตย์ โพธิ์พูนศักดิ์
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

         เตรียมเลี้ยงราโรคแมลงจำนวน 9 ไอโซเลท ประกอบไปด้วย M. anisopliae No.1 -9 , B. bassiana, Isaria javanica บนเมล็ดข้าวโพดบดหยาบ เพื่อทำการทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อราในการควบคุมเพลี้ยจักจั่นฝ้าย Amrasca biguttula biguttula ห้องปฏิบัติการ และได้เตรียมปลูกมะเขือเปราะเพื่อทำการระบาดเทียมจำนวน 50 กระถาง แต่เนื่องจากไตรมาส 1 (ต.ค. - ธ.ค.) ซึ่งเป็นฤดูหนาว ไม่มีการระบาดในระดับความเสียหายทางเศรษฐกิจของเพลี้ยจักจั่นฝ้ายในพืชอาศัยเช่น มะเขือเปราะและกระเจี้ยบเขียวในเขตจังหวัดกาญจนบุรี เช่น อำเภอเมือง ท่าม่วง ด่านมะขามเตี้ย และทองผาภูมิ การทดสอบศักยภาพเชื้อราโรคแมลงในห้องปฏิบัติการ และทำการทดลองจำนวน 3 การทดลอง จากนั้นเก็บข้อมูลในวันที่ 8 หลังจากการปลูกเชื้อรา พบว่าแมลงเริ่มตายในวันที่ 3 หลังจากการปลูกเชื้อ แต่ยังไม่สามารถมองเห็นเส้นใยและโคนิเดียของเชื้อราบนตัวแมลงได้ จนกระทั่งในวันที่ 4 หลังจากการปลูกเชื้อราจึงสามารถมองเห็นโครงสร้างต่างๆ ของเชื้อราได้เชื้อราโรคแมลงที่มีประสิทธิภาพในการเข้า
ทำลายเพลี้ยจักจั่น คือ Beauveria sp. 64.58 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา คือ Metarhizium sp. M42 56.25 เปอร์เซ็นต์ และ Metarhizium sp. M25 55.85 เปอร์เซ็นต์