การศึกษาสถานภาพของไร Aceria guerreronis Keifer ในประเทศไทย - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2560 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=33) +--- เรื่อง: การศึกษาสถานภาพของไร Aceria guerreronis Keifer ในประเทศไทย (/showthread.php?tid=2498) |
การศึกษาสถานภาพของไร Aceria guerreronis Keifer ในประเทศไทย - doa - 12-17-2018 การศึกษาสถานภาพของไร Aceria guerreronis Keifer ในประเทศไทย พลอยชมพู กรวิภาสเรือง, ณพชรกร ธไภษัชย์, อัจฉราภรณ์ ประเสริฐผล, วิมลวรรณ โชติวงศ์ และพิเชฐ เชาวน์วัฒนวงศ์ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ไรสี่ขามะพร้าว Aceria guerreronis Keifer เป็นไรศัตรูพืชกักกันของประเทศไทย เนื่องจากไรชนิดนี้เป็นไรที่มีความสำคัญ สร้างความเสียหายให้กับผลผลิตของมะพร้าวและมีการแพร่ระบาดในหลายๆ ประเทศดังนั้น เพื่อเป็นการติดตามเฝ้าระวังในภาคต่างๆ จึงทำการสำรวจไรสี่ขาที่พบบนผลมะพร้าว นำผลมะพร้าวที่แสดงอาการผิดปกติมาตรวจหาไรและจำแนกชนิดภายใต้กล้องจุลทรรศน์พบไรสี่ขาทำให้เกิดอาการผิดปกติบนผลมะพร้าว 1 ชนิด คือ Colomerus novahebridensis Keifer ซึ่งไม่ใช่ศัตรูพืชกักกันของประเทศไทย ลักษณะการเข้าทำลายของไรสี่ขาโคโลโมรัส อาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงภายในขั้วผลมะพร้าวขณะผลมีขนาดเล็ก เป็นแผลสีน้ำตาลขนาดเล็ก อาการจะรุนแรงน้อย เมื่อผลมีขนาดใหญ่ขนาดแผลจะใหญ่ตาม อย่างไรก็ตามผลมะพร้าวที่ถูกไรชนิดนี้เข้าทำลายขนาดผลปกติไม่เล็กลีบ หากปลอกเปลือกยังสามารถจำหน่ายได้ ในหนึ่งทลายมักพบอาการเพียงไม่กี่ผลผลไม่ร่วงหล่นเสียหาย โดยพื้นที่ที่พบไรสี่ขาโคโลโมรัสรวมทั้งสิ้น 11 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสาคร ชลบุรี ราชบุรี เพชรบูรณ์ นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร พังงา นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และปัตตานี
|