การใช้สารสกัดมะคำดีควาย Sapidus emaginatus และสารสกัดกากเมล็ดชาน้ำมันกำจัดศัตรูพืช - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2560 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=33) +--- เรื่อง: การใช้สารสกัดมะคำดีควาย Sapidus emaginatus และสารสกัดกากเมล็ดชาน้ำมันกำจัดศัตรูพืช (/showthread.php?tid=2471) |
การใช้สารสกัดมะคำดีควาย Sapidus emaginatus และสารสกัดกากเมล็ดชาน้ำมันกำจัดศัตรูพืช - doa - 12-13-2018 การใช้สารสกัดมะคำดีควาย Sapidus emaginatus และสารสกัดกากเมล็ดชาน้ำมัน Camelia sp กำจัดหนูศัตรูพืช ปราสาททอง พรหมเกิด, พรรณีกา อัตตนนท์, สมเกียรติ กล้าแข็ง และทรงทัพ แก้วตา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร การทดสอบประสิทธิภาพสารสกัดมะคำดีควายกับหนูท้องขาวบ้าน และหนูพุกใหญ่ โดยดักจับหนูทั้ง 2 ชนิด มาเลี้ยงที่ห้องปฏิบัติการของกลุ่มงานสัตววิทยาการเกษตร ทำการทดลองสารสกัดมะคำดีควายกับหนูท้องขาวบ้าน และหนูพุกใหญ่ ตามแผนการทดลอง CRD 10 ซ้ า 5 กรรมวิธี คือ สารสกัดมะคำดีควายอัตรา 1, 3, 6 และ 10 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวหนูเปรียบเทียบกับกรรมวิธีไม่ให้สาร หลังทดสอบ 15 วัน พบว่าหนูท้องขาวบ้านตายเฉลี่ย 20, 50, 50, 70 และ 0% ตามลำดับ และหนูพุกใหญ่ตายเฉลี่ย 10, 20, 30, 50 และ 0% ตามลำดับ ซึ่งจะทำการทดสอบทั้งสารสกัดมะคำดีควายเพิ่มเติมและทดสอบประสิทธิภาพสารสกัดกากเมล็ดชาน้ำมันกับหนูท้องขาวบ้านตายเฉลี่ย 30, 50, 60, 80 และ 0% ตามลำดับ และทำการทดสอบกับหนูพุกใหญ่โดยดักหนูพุกใหญ่มาเลี้ยงที่ห้องปฏิบัติการของกลุ่มงานสัตววิทยาการเกษตร อัตรา 1, 3, 6 และ 10 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวหนูเปรียบเทียบกับกรรมวิธีไม่ให้สาร หลังทดสอบ 15 วัน พบว่าหนูตาย 10, 30, 30, 60 และ 0% ตามลำดับ จะทำการทดลองต่อในปี 2561
|