การทดสอบประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชเพื่อควบคุมแห้วหมูในถั่วเขียว - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2560 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=33) +--- เรื่อง: การทดสอบประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชเพื่อควบคุมแห้วหมูในถั่วเขียว (/showthread.php?tid=2470) |
การทดสอบประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชเพื่อควบคุมแห้วหมูในถั่วเขียว - doa - 12-13-2018 การทดสอบประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชเพื่อควบคุมแห้วหมูในถั่วเขียว ภัทร์พิชชา รุจิระพงศ์ชัย, คมสัน นครศรี, อมฤต ศิริอุดม และจิราลักษณ์ ภูมิไธสง สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และสถาบันวิจัยพืชพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน การทดสอบประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชเพื่อควบคุมแห้วหมูในถั่วเขียว ดำเนินการทดลองระหว่างเดือนตุลาคม 2559 - กันยายน 2560 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท พบว่าการพ่นสารกำจัดวัชพืช diclosulam 84% WG และ imazapic 24% SL เป็นพิษต่อการงอกของถั่วเขียวเล็กน้อยทำให้ถั่วเขียวงอกช้ากว่าปกติ แต่เมื่อมีการให้น้ำและใส่ปุ๋ย ถั่วเขียวสามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติ และการพ่นสารกำจัดวัชพืช diclosulam 84% WG, imazapic 24% SL, imazethapyr 5.3% SL และ imazapic 24% SL+ imazethapyr 5.3% SL สามารถควบคุมแห้วหมูได้ดีถึงระยะ 30 วันหลังพ่นสาร ยกเว้นกรรมวิธีพ่นสารกำจัดวัชพืช diclosulam 84% WG สามารถควบคุม แห้วหมูได้ ยาวนานถึง 60 วันหลังพ่นสารกำจัดวัชพืช มีผลทำให้จำนวนต้นและน้ำหนักแห้งวัชพืชลดลง 2) ศึกษาประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชประเภทหลังวัชพืชงอก พ่นระหว่างแถว พบว่าทุกกรรมวิธีการพ่นสารกำจัดวัชพืชไม่พบความเป็นพิษต่อถั่วเขียว ที่ระยะ 30 วันหลังพ่นสาร การพ่นสารกำจัดวัชพืช glyphosate isopropylamonium 48% W/V SL สามารถกำจัดวัชพืชประเภทใบแคบ ใบกว้าง และกกได้ดีถึงระยะ 60 วันหลังพ่นสารในขณะที่สาร cafentrazone ethyl 40% WG halosulfuronmethyl 75% WG และ hlorimuron ethyl 10% WP สามารถกำจัดแห้วหมู และวัชพืชประเภทใบกว้างได้ดี แต่ไม่สามารถกำจัดวัชพืชประเภทใบแคบได้ มีผลทำให้จำนวนต้นวัชพืชและน้ำหนักแห้งวัชพืชลดลง แต่ทุกกรรมวิธีที่มีการพ่นสารกำจัดวัชพืชทำให้จำนวนต้นและน้ำหนักแห้งวัชพืชลดลง
|