การจัดการวัชพืชในถั่วเขียวหลังนา - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2559 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=32) +--- เรื่อง: การจัดการวัชพืชในถั่วเขียวหลังนา (/showthread.php?tid=2469) |
การจัดการวัชพืชในถั่วเขียวหลังนา - doa - 12-13-2018 การจัดการวัชพืชในถั่วเขียวหลังนา ภัทร์พิชชา รุจิระพงศ์ชัย, อมฤต ศิริอุดม, อัณศยา สุริยะวงศ์ตระการ และจิราลักษณ์ ภูมิไธสง สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และสถาบันวิจัยพืชพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน การจัดการวัชพืชในถั่วเขียวหลังนา โดยการใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนวัชพืชงอกและหลังวัชพืชงอก ดำเนินการทดลองระหว่างเดือนตุลาคม 2559 - กันยายน 2560 ณ ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท แบ่งการทดลองออกเป็น 2 การทดลองย่อย คือ 1) ทดสอบประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอก และ 2) ทดสอบประสิทธิภาพการใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทหลังวัชพืชงอก วางแผนการทดลองแบบ Split plot จำนวน 3 ซ้ำ Main plot ประกอบด้วย การเตรียมดิน และไม่เตรียมดินก่อนปลูก Subplot ประกอบด้วย การพ่นสารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนและหลังวัชพืชงอกพบว่า ทุกกรรมวิธีที่พ่นสารกำจัดวัชพืชไม่พบความเป็นพิษต่อถั่วเขียว และการพ่นสารกำจัดวัชพืช oxadiazon 25% EC อัตรา 120 กรัม (ai) ต่อไร่ ในสภาพการเตรียมดิน มีประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชได้ดีที่สุด โดยสามารถควบคุมวัชพืชได้นาน 45 วันหลังพ่นสาร ส่วนประสิทธิภาพการใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทหลังวัชพืชงอก การพ่นสารกำจัดวัชพืช imazapic 24% SL เป็นพิษต่อถั่วเขียวเล็กน้อย โดยมีผลทำให้ถั่วเขียวชะงักการเจริญเติบโต แต่สามารถควบคุมวัชพืชประเภทใบแคบ ใบกว้าง และแห้วหมูได้ดี เช่นเดียวกับการพ่นสารกำจัดวัชพืช imazapic 24% SL และ imazethapyr 5.3% SL สามารถกำจัดแห้วหมูได้ดี แต่มีประสิทธิภาพในการกำจัดโสนหางไก่ได้เล็กน้อย ขณะที่กรรมวิธีพ่นสารกำจัดวัชพืช fluazifop-P-butyl 10% EC + fomesafen 25% SL สามารถกำจัดวัชพืชประเภทใบแคบ และประเภทใบกว้างได้ดี แต่ไม่สามารถกำจัดแห้วหมูได้ทั้งในสภาพการเตรียมดินและไม่เตรียมดิน
|