การป้องกันกำจัดโรคใบไหม้และใบจุดปทุมมาที่เกิดจากเชื้อรา Acremonium sp. โดยชีววิธี - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2559 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=32) +--- เรื่อง: การป้องกันกำจัดโรคใบไหม้และใบจุดปทุมมาที่เกิดจากเชื้อรา Acremonium sp. โดยชีววิธี (/showthread.php?tid=2468) |
การป้องกันกำจัดโรคใบไหม้และใบจุดปทุมมาที่เกิดจากเชื้อรา Acremonium sp. โดยชีววิธี - doa - 12-13-2018 การป้องกันกำจัดโรคใบไหม้และใบจุดปทุมมาที่เกิดจากเชื้อรา Acremonium sp. โดยชีววิธี ทัศนาพร ทัศคร, วัชรี วิทยวรรณกุล และบังอร นวลศรี กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ทดสอบประสิทธิภาพเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ทั้งหมด 79 ไอโซเลท ในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราสาเหตุโรค Acremonium sp. ในห้องปฏิบัติการ สามารถคัดเลือกได้เชื้อที่มีประสิทธิภาพดีในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราสาเหตุโรค จำนวน 19 ไอโซเลท ซึ่งเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ที่คัดเลือกได้มีการสร้าง inhibition zone ได้กว้าง 1.0 - 2.0 เซนติเมตร จากนั้นทำการทดสอบประสิทธิภาพเชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการควบคุมเชื้อรา Acremonium sp. สาเหตุโรคใบไหม้และใบจุดในสภาพโรงเรือนทดลอง โดยทำการพ่นเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์แต่ละไอโซเลท ลงบนพืชทดสอบจำนวน 4 ครั้ง ทุก 5 วัน และทำการวัดขนาดของแผลที่เกิดขึ้นบนใบก่อนการพ่นเชื้อทุกครั้ง จากการทดลองพบว่า เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ที่มีประสิทธิภาพดีในการยับยั้งการเกิดแผลบนใบปทุมมา 3 พันธุ์ คือ ขาวมะลิ ทวิตเตอร์ และ มองบลังค์ และกระเจียว 1 พันธุ์ คือ ลัดดาวัลย์ ได้ดีในสภาพโรงเรือนทั้งหมด 7 ไอโซเลท ได้แก่ Bc-48, Bc-39, Bc-52, Bc-02, Bc-78, Bc-60และ Bc-12 จากการทดลองครั้งนี้จะได้นำผลการทดลองที่ได้ไปทำการทดสอบประสิทธิภาพในสภาพแปลงทดลองต่อไป
|