คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การใช้วิธีการจัดการดินร่วมกับการใช้แบคทีเรียปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคเหี่ยวของปทุมมา - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2559 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=32)
+--- เรื่อง: การใช้วิธีการจัดการดินร่วมกับการใช้แบคทีเรียปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคเหี่ยวของปทุมมา (/showthread.php?tid=2467)



การใช้วิธีการจัดการดินร่วมกับการใช้แบคทีเรียปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคเหี่ยวของปทุมมา - doa - 12-13-2018

การใช้วิธีการจัดการดินร่วมกับการใช้แบคทีเรียปฏิปักษ์ในการควบคุมโรคเหี่ยวของปทุมมา
บูรณี พั่ววงษ์แพทย์, ณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล, รุ่งนภา ทองเคร็ง, ทิพวรรณ กันหาญาติ และกาญจนา ศรีไม้
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การทดสอบประสิทธิภาพของวิธีการจัดการดินร่วมกับแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus subtilis ในการควบคุมโรคเหี่ยวของปทุมมา ที่มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum ทำการทดลองในสภาพแปลงปลูกที่อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ในปี 2559 - 2560 วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ 6 กรรมวิธี โดยการจัดการดินด้วยยูเรียและปูนขาวอัตรา 80 : 800 กิโลกรัมต่อไร่ การจัดการดินด้วยคลอรีนผง อัตรา 80 กิโลกรัมต่อไร่ การใช้ B. subtilis สายพันธุ์ BS-DOA 108 และ BS-DOA 114 แช่หัวพันธุ์ก่อนปลูกและรดด้วยอัตรา 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตรทุก 30 วัน การจัดการดินด้วยยูเรียและปูนขาวร่วมกับการใช้ B. subtilis สายพันธุ์ BS-DOA 108 และ BS-DOA 114 การจัดการดินด้วยคลอรีนผงร่วมกับการใช้ B. subtilis สายพันธุ์ BS-DOA 108 และ BS-DOA 114 และการไม่จัดการดินและไม่ใช้ B. subtilis เป็นกรรมวิธีเปรียบเทียบ ผลการทดสอบพบว่า การจัดการดินด้วยยูเรียและปูนขาวร่วมกับการใช้ B. subtilis สายพันธุ์ BS-DOA 108 และ BS-DOA 114 สามารถควบคุมโรคเหี่ยวได้ดีที่สุด โดยปทุมมาเป็นโรคเหี่ยว 28.13 และ 9.38 เปอร์เซ็นต์ ในปีที่ 1 และ 2 ส่วนกรรมวิธีเปรียบเทียบปทุมมาเป็นโรคเหี่ยว 82.50 และ 45.60 เปอร์เซ็นต์ ในปีที่ 1 และ 2 ตามลำดับ