การทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการควบคุมโรคใบไหม้ใบจุดของปทุมมา - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2554 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=4) +--- เรื่อง: การทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการควบคุมโรคใบไหม้ใบจุดของปทุมมา (/showthread.php?tid=246) |
การทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการควบคุมโรคใบไหม้ใบจุดของปทุมมา - doa - 11-18-2015 การทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการควบคุมโรคใบไหม้ใบจุดของปทุมมา ทัศนาพร ทัศคร, ธารทิพย ภาสบุตร, พีระวรรณ พัฒนวิภาส, อภิรัชต์ สมฤทธิ์ และสุธามาศ ณ น่าน กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มวิชาการ ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย ทำการแยกเชื้อราที่คาดว่าเป็นสาเหตุของโรคใบไหม้ใบจุดของปทุมมา ได้เชื้อราที่คาดว่าเป็นสาเหตุโรค 7 ไอโซเลท ผลการศึกษาลักษณะทางสัณฐานของเชื้อราเพื่อจำแนกชนิดพบว่า เป็นรา Sphaceloma sp. 3 ไอโซเลท Curvularia sp. 1 ไอโซเลท Acremonium sp. 2 ไอโซเลท Fusarium sp. 1 ไอโซเลท นำราที่ได้มาเลี้ยงขยายเชื้อราบนอาหารเลี้ยงเชื้อรามาตรฐาน PDA เป็นเวลา 7 วัน แล้วนำมาทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดโรคพืชต่อการเจริญของเส้นใยโดยวิธี Poisoned food technique ในห้องปฏิบัติการ วางแผนการทดลองแบบ CRD 10 ซ้ำ ใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช 7 ชนิด ได้แก่ คาร์เบนดาซิม 50%WP แมนโคเซบ 80%WP ไดฟ์โนโคลนาโซล 25%EC โปรคลอราซ 50%WP ฟลูซิลาโซล 40%WP อะซอกซีสโตรบิน 25%EC และอะซอกซีสโตรบิน + ไดฟ์โนโคลนาโซล 32.5%EC ที่ความเข้มข้น 3 ระดับ คือ 10, 100, และ 1000 ppm. เปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุมใช้น้ำกลั่นนึ่งฆ่าเชื้อ ผสมกับอาหารแทนสารป้องกันกำจัดโรคพืช จากนั้นวางเชื้อราบนอาหารเลี้ยงเชื้อที่เตรียมไว้ บ่มเชื้อที่อุณหภูมิห้อง วัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางโคโลนีหลังการทดลอง 7 วัน พร้อมสังเกตลักษณะการเจริญของราและปริมาณการสร้างสปอร์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ นำค่าที่วัดได้มาคำนวณหาค่าเปอร์เซ็นต์การยับยั้งการเจริญของเส้นใย ซึ่งการทดลองนี้ยังไม่สิ้นสุดยังต้องทำการพิสูจน์โรคและทดสอบประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดโรคพืชเพิ่มเติมอีกในปี 2555
|