ศึกษาและพัฒนาการคุ้มครองพันธุ์พืชตามแผนปฏิบัติการประชาคมอาเซียน - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2559 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=32) +--- เรื่อง: ศึกษาและพัฒนาการคุ้มครองพันธุ์พืชตามแผนปฏิบัติการประชาคมอาเซียน (/showthread.php?tid=2448) |
ศึกษาและพัฒนาการคุ้มครองพันธุ์พืชตามแผนปฏิบัติการประชาคมอาเซียน - doa - 09-17-2018 ศึกษาและพัฒนาการคุ้มครองพันธุ์พืชตามแผนปฏิบัติการประชาคมอาเซียน ป่าน ปานขาว, เบ็ญจวรรณ์ จำรูญพงษ์, ธิดากุญ แสนอุดม, วาสนา มั่งคั่ง, รุ่งทิวา ธนำธาตุ, วราภรณ์ ทองพันธุ์, ปณิพัท กฤษสมัคร, ยุวลักษณ์ ผายดี, ณัฐพร เสียงอ่อน, อัฏฐพร สิทธิ์วิภูศิริ และเชน เทพสกุล โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ปรับปรุง พัฒนาหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบพันธุ์พืช เพื่อการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 จากมาตรฐานระดับชาติเป็นระดับมาตรฐานอาเซียน และจัดทำคู่มือการตรวจสอบลักษณะพันธุ์พืช สำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ของพืช มะม่วง พืชให้เนื้อไม้สกุลอะเคเซีย และกล้วยไม้สกุลหวาย ซึ่งประเทศไทยได้ใช้หลักเกณฑ์ฯ พืชดังกล่าว มาระยะเวลาหนึ่งแล้ว พบว่าหลักเกณฑ์ฯ มีข้อจำกัดในการตรวจสอบพันธุ์พืชที่มีลักษณะใหม่ และจำนวนพันธุ์ที่มีความหลากหลายมากขึ้น จึงต้องปรับปรุง พัฒนาหลักเกณฑ์ฯ ให้มีความเหมาะสมและเป็นไปตามมาตรฐานสากลยิ่งขึ้น โดยทำการศึกษา ปรับปรุง พัฒนาหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบพันธุ์พืช จากมาตรฐานระดับชาติเป็นระดับมาตรฐานอาเซียนของพืช มะม่วง พืชให้เนื้อไม้สกุลอะเคเซีย และกล้วยไม้สกุลหวาย ดังนี้ ศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบพันธุ์พืชของประเทศในภูมิภาคอาเซียนและของสหภาพระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ศึกษาเอกสารวิธีการจัดทำหลักเกณฑ์การตรวจสอบลักษณะพันธุ์พืชของสหภาพระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ศึกษาลักษณะพันธุ์พืช พันธุ์พื้นเมืองทั่วไปที่มีการปลูกอยู่ตามแหล่งเพาะปลูกของพืชดังกล่าว แล้วนำข้อมูลประกอบการยกร่างหลักเกณฑ์การตรวจสอบลักษณะพันธุ์พืช จากนั้นได้จัดประชุมระดมสมองผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาปรับปรุง แก้ไข (ร่าง) หลักเกณฑ์ฯ แล้วนำไปทดสอบใช้ในการบันทึกลักษณะพันธุ์พืชในภาคสนาม และปรับปรุง (ร่าง) หลักเกณฑ์ฯ ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และนำข้อมูลการแสดงออกทางสัญฐานวิทยาของพันธุ์พืชที่ได้มากำหนดเป็นพันธุ์อ้างอิง และใช้ข้อมูลยกร่างคู่มือการตรวจสอบลักษณะพันธุ์พืช สำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ของมะม่วง พืชให้เนื้อไม้สกุลอะเคเซีย และกล้วยไม้สกุลหวาย ผลจากการวิจัยได้ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบลักษณะพันธุ์พืชของมะม่วง พืชให้เนื้อไม้สกุลอะเคเซีย กล้วยไม้สกุลหวาย ที่ผ่านการทดลองใช้ และเป็นไปตามมาตรฐานอาเซียน โดยมีเนื้อหาที่ประกอบด้วย การก าหนดขอบเขตชนิดพืชที่ใช้ (ร่าง) หลักเกณฑ์ฯ นี้ ในการตรวจสอบ ชนิดและจำนวนส่วนขยายพันธุ์ที่ต้องส่งมอบ วิธีการตรวจสอบ การประเมินความแตกต่าง ความสม่ำเสมอ และความคงตัว การจัดกลุ่มพันธุ์ ลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่ใช้ตรวจสอบ การอธิบายลักษณะและภาพลายเส้นหรือภาพถ่ายประกอบ โดย (ร่าง) หลักเกณฑ์ฯ ของมะม่วง พืชให้เนื้อไม้สกุลอะเคเซีย และกล้วยไม้สกุลหวาย ได้กำหนดจำนวนต้นที่ใช้ปลูกตรวจสอบ จำนวน 5, 7 และ 20 ต้น ตามลำดับ ใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่ใช้ตรวจสอบ จำนวน 59 33 และ 124 ลักษณะ ตามลำดับ และได้ (ร่าง) คู่มือการตรวจสอบลักษณะพันธุ์พืช สำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ของมะม่วง พืชให้เนื้อไม้สกุลอะเคเซีย และกล้วยไม้สกุลหวาย
|