การวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์จังหวัดอำนาจเจริญ - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2559 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=32) +--- เรื่อง: การวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์จังหวัดอำนาจเจริญ (/showthread.php?tid=2429) |
การวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์จังหวัดอำนาจเจริญ - doa - 09-13-2018 การวิจัยและพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์จังหวัดอำนาจเจริญ นิรมล ดำพะธิก โครงการวิจัยแลพัฒนาต้นแบบระบบการปลูกพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์จังหวัดอำนาจเจริญ มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการเพาะปลูกพืชอินทรีย์ที่ประสบปัญหาหลายประการที่สำคัญประการแรก คือ ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ การระบาดของโรคแมลงและหลังการเกี่ยวข้าวนาปีเกษตรกรยังปล่อยให้พื้นที่ว่างหลังการทำนา เพื่อให้ได้เทคโนโลยีการผลิตและการพัฒนาระบบการปลูกพืชอินทรีย์ที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญให้ได้ตามมาตรฐานการผลิตเกษตรอินทรีย์ ตลอดจนเพื่อพัฒนาเกษตรกรให้มีความปราดเปรื่องเข้าสู่ Smart Farmer ด้านเกษตร ดำเนินการโดยใช้หลักการวิจัยระบบการทำฟาร์ม (Farming Systems Research หรือ FSR) และการพัฒนาเทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วม (Participatory Technology Development หรือ PTD) ในสภาพพื้นที่เกษตรกร ดำเนินงานโดยใช้แนวทางกระบวนการแบบมีส่วนร่วม
การใช้ไตรโครเดอม่าสามารถแก้ไขปัญหาโรครากเน่าคนเน่ากับผักชีฝรั่งและการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตามค่าวิเคราะห์ดิน 100% สามารถเพิ่มผลผลิต รายได้ให้กับเกษตรกรพื้นที่ร้อยละ 20 การระบบการปลูกพืชอินทรีย์หลังนาสามารถลดอัตราการว่างงาน เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรหลังการเก็บเกี่ยวข้าว และสามารถพัฒนาเกษตรกรเป็นเกษตรกรต้นแบบสู่ระบบการผลิตตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ได้
|