โครงการวิจัยและพัฒนาการเพิ่มปริมาณต้นมันสำปะหลังในสภาพเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2559 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=32) +--- เรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาการเพิ่มปริมาณต้นมันสำปะหลังในสภาพเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (/showthread.php?tid=2412) |
โครงการวิจัยและพัฒนาการเพิ่มปริมาณต้นมันสำปะหลังในสภาพเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ - doa - 09-13-2018 โครงการวิจัยและพัฒนาการเพิ่มปริมาณต้นมันสำปะหลังในสภาพเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อโดยเทคนิคเซลล์โซมาติก (โครงการวิจัยเดี่ยว) กุลชาต นาคจันทึก, จิณณจาร์ หาญเศรษฐสุข และประพิศ วองเทียม ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง สถาบันวิจัยพืชไร่ การใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตกลุ่มออกซินร่วมกับสารอะดีนิน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการชักนำเซลล์โซมาติกของมันสำปะหลังในการทดลองนี้ วางแผนการทดลองแบบ 3 x 5 factorial in Completely Randomized Design (CRD) จำนวน 4 ซ้ำโดยมี 2 ปัจจัย คือ พันธุ์มันสำปะหลัง ได้แก่ ระยอง 11 ระยอง 86-13และ ห้วยบง 80 กับ ชนิดของสารควบคุมการเจริญเติบโตกลุ่มออกซิน 5 ชนิด (ปี 2558) และระดับความเข้มข้นของสารควบคุมการเจริญเติบโตกลุ่มออกซินปีละ 5 ระดับ (ปี 2559 และปี 2560) โดยใช้ร่วมกับส่วนสารควบคุมการเจริญเติบโตกลุ่มไซโตไคนิน ได้แก่ adenine 2 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่าเมื่อนำเนื้อเยื่อส่วนข้อของพันธุ์ระยอง 11 ระยอง 86-13 และห้วยบง 80 มาเลี้ยงบนอาหารที่มีการเติมสารควบคุมการเจริญเติบโตกลุ่มออกซิน 5 ชนิด จะมีอยู่ 2 ชนิด คือ picloram และ dicamba ที่สามารถชักนำให้เนื้อเยื่อมันสำปะหลังเป็นแคลลัสได้มากกว่าร้อยละ 60 ส่วนระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมพบว่า ระดับความเข้มข้นตั้งแต่ 30 ไมโครโมล์ขึ้นไป จะสามารถชักนำให้เกิดแคลลัสได้มากกว่าร้อยละ 60
การศึกษาปัจจัยการเกิดเซลล์โซมาติกจากคัพภะของลูกผสมเปิดจากต้นแม่มันสำปะหลังพันธุ์แนะนำในประเทศไทยในการทดลองนี้ วางแผนการทดลองแบบ 4 x 5 factorial in Completely Randomized Design (CRD) จำนวน 3 ซ้ำโดยมี 2 ปัจจัย คือ พันธุ์มันสำปะหลัง ได้แก่ ระยอง 2, ระยอง 5, ระยอง 11 และระยอง 60 กับ ชนิดของสารควบคุมการเจริญเติบโตกลุ่มออกซิน 5 ชนิด (ปี 2558) และระดับความเข้มข้นของสารควบคุมการเจริญเติบโตกลุ่มออกซินปีละ 5 ระดับ (ปี 2559 และปี 2560) พบว่าเมื่อนำคัพภะของพันธุ์ระยอง 2, ระยอง 5, ระยอง 11 และระยอง 60 มาเลี้ยงบนอาหารที่มีการเติมสารควบคุมการเจริญเติบโตกลุ่มออกซิน 5 ชนิด จะมีอยู่ 2 ชนิด คือ picloram และ dicamba ที่สามารถชักนำให้คัพภะมันสำปะหลังเป็นแคลลัสได้มากกว่าร้อยละ 65 ส่วนระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมพบว่า ระดับความเข้มข้นตั้งแต่ 30 ไมโครโมล์ขึ้นไป จะสามารถชักนำให้เกิดแคลลัสได้มากกว่าร้อยละ 65
การศึกษาปัจจัยการเกิดเซลล์โซมาติกจากคัพภะของลูกผสมเปิดจากต้นแม่เชื้อพันธุกรรมมันสำปะหลังพันธุ์ที่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์จำนวน 4 สำยพันธุ์ ในการทดลองนี้ วางแผนการทดลองแบบ 4 x 5 factorial in Completely Randomized Design (CRD) จำนวน 3 ซ้ำโดยมี 2 ปัจจัย คือ พันธุ์มันสำปะหลัง ได้แก่ Bathang, CMR50-73-6, MCub8 และ MCub23 กับ ชนิดของสารควบคุมการเจริญเติบโตกลุ่มออกซิน 5 ชนิด (ปี 2558) และระดับความเข้มข้นของสารควบคุมการเจริญเติบโตกลุ่มออกซินปีละ 5 ระดับ (ปี 2559 และปี 2560) พบว่าเมื่อนำคัพภะของพันธุ์ Bathang, CMR50-73-6, MCub8 และ MCub23 มาเลี้ยงบนอาหารที่มีการเติมสารควบคุมการเจริญเติบโตกลุ่มออกซิน 5 ชนิด จะมีอยู่ 2 ชนิด คือ picloram และ dicamba ที่สามารถชักนำให้คัพภะมันสำปะหลังเป็นแคลลัสได้มากกว่าร้อยละ 67 ส่วนระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมพบว่า ระดับความเข้มข้นตั้งแต่ 30 ไมโครโมล์ขึ้นไป จะสามารถชักนำให้เกิดแคลลัสได้มากกว่าร้อยละ 67
กิจกรรมที่ 2 การศึกษาปัจจัยการชักนำคัพภะให้เกิดเซลล์โซมาติกของลูกผสมมันสำปะหลัง
กุลชาต นาคจันทึก, จิณณจาร์ หาญเศรษฐสุข และประพิศ วองเทียม
การศึกษาปัจจัยการเกิดเซลล์โซมาติกจากคัพภะของลูกผสมเปิดจากต้นแม่มันสำปะหลังพันธุ์แนะนำในประเทศไทยในการทดลองนี้ วางแผนการทดลองแบบ 4 x 5 factorial in Completely Randomized Design (CRD) จำนวน 3 ซ้ำโดยมี 2 ปัจจัย คือ พันธุ์มันสำปะหลัง ได้แก่ ระยอง 2, ระยอง 5, ระยอง 11 และระยอง 60 กับชนิดของสารควบคุมการเจริญเติบโตกลุ่มออกซิน 5 ชนิด (ปี 2558) และระดับความเข้มข้นของสารควบคุมการเจริญเติบโตกลุ่มออกซินปีละ 5 ระดับ (ปี 2559 และปี 2560) พบว่าเมื่อนำคัพภะของพันธุ์ระยอง 2, ระยอง 5, ระยอง 11 และระยอง 60 มาเลี้ยงบนอาหารที่มีการเติมสารควบคุมการเจริญเติบโตกลุ่มออกซิน 5 ชนิด จะมีอยู่ 2 ชนิด คือ picloram และ dicamba ที่สามารถชักนำให้คัพภะมันสำปะหลังเป็นแคลลัสได้มากกว่าร้อยละ 65 ส่วนระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมพบว่า ระดับความเข้มข้นตั้งแต่ 30 ไมโครโมล์ขึ้นไป จะสามารถชักนำให้เกิดแคลลัสได้มากกว่าร้อยละ 65
|