ผลของช่วงเวลาและระดับความสูงในการตัดลำต้นที่มีต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพกล้วย - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2557 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=7) +--- เรื่อง: ผลของช่วงเวลาและระดับความสูงในการตัดลำต้นที่มีต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพกล้วย (/showthread.php?tid=2353) |
ผลของช่วงเวลาและระดับความสูงในการตัดลำต้นที่มีต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพกล้วย - doa - 03-23-2017 ผลของช่วงเวลาและระดับความสูงในการตัดลำต้นที่มีต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพกล้วยไข่เพื่อการส่งออก กุลธิดา ดอนอยู่ไพร, รุ่งทิวา ดารักษ์, สมชาย บุญประดับ, ประยูร สมฤทธิ์ และธำรง ช่วยเจริญ สังกัดสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตาก และสำนักผู้เชี่ยวชาญ การศึกษาผลของช่วงเวลาและระดับความสูงในการตัดลำต้นที่มีต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพกล้วยไข่เพื่อการส่งออก ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดตาก เป็นการศึกษาเพื่อให้ได้ช่วงเวลาและระดับความสูงในการตัดลำต้นกล้วยไข่ที่เหมาะสม เพื่อลดปัญหาการหักล้มจากแรงลมในช่วงฤดูแล้งดำเนินการ 2 ปี จากการศึกษาพบว่า การไม่ตัดต้นกล้วยไข่เป็นวิธีการที่ให้ผลผลิตดีที่สุดมีรายได้มากกว่าร่ายจ่าย หมายถึงการดำเนินงานที่มีกำไร ทั้ง 2 ปี ที่ทำการศึกษา ในปี 2555/56 การไม่ตัดต้นกล้วยไข่มีผลผลิต 4,406 กิโลกรัม/ไร่ มีรายได้ 30,842 บาท/ไร่ ต้นทุนการผลิต 20,875 บาท/ไร่ กำไร 9,967 บาท/ไร่ ค่า BCR 1.50 และ ปี 2556/57 การไม่ตัดต้นกล้วยไข่ มีผลผลิต 3,813 กิโลกรัม/ไร่ มีรายได้ 26,693 บาท/ไร่ ต้นทุนการผลิต 17,675 บาท/ไร่ กำไร 9,018 บาท/ไร่ ค่า BCR 1.48 การหักล้มของต้นกล้วยไข่พบว่า พื้นที่ปลูกกล้วยไข่ 1 ไร่ มีกล้วยไข่หักล้มมากสุด 17 ต้น คือ กรรมวิธีที่ 2 การตัดต้นกล้วยเมื่ออายุ 3 เดือน ตัดที่ระดับความสูง 60 เซนติเมตร และกรรมวิธีที่ 5 การตัดต้นกล้วยเมื่ออายุ 4 เดือน ตัดที่ระดับความสูง 60 เซนติเมตร ขณะที่การไม่ตัดต้นกล้วยไข่ไม่มีการหักล้มของต้นกล้วยไข่ ดังนั้นการศึกษาผลของช่วงเวลาและระดับความสูงในการตัดลำต้นที่มีต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพกล้วยไข่เพื่อการส่งออก สามารถลดความสูงของต้นกล้วยได้ แต่ขณะเดียวกันผลผลิตกล้วยไข่ก็ลดตาม หากเกษตรกรตัดต้นกล้วยไข่จะทำให้เกษตรกรเพิ่มรายจ่ายเรื่องค่าแรงตัดต้นกล้วยไข่ แต่อายุการเก็บเกี่ยวกล้วยไข่เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ช้าลง และกำไรลดลงจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น การไม่ตัดต้นกล้วยไข่มีค่า BCR 1.5 คือ การลงทุนที่มีกำไรสามารถปฏิบัติได้ การตัดต้นกล้วยไข่ทุกกรรมวิธี เป็นวิธีการที่ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน เกษตรกรควรปลูกกล้วยไข่ ในสภาพพื้นที่ที่มีไม้บังลมเหมาะสมที่สุด
|