การศึกษาสูตรสารละลายธาตุอาหารพืชที่เหมาะสมในการผลิตผักชีไทยในระบบการปลูกแบบสารละลาย - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2557 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=7) +--- เรื่อง: การศึกษาสูตรสารละลายธาตุอาหารพืชที่เหมาะสมในการผลิตผักชีไทยในระบบการปลูกแบบสารละลาย (/showthread.php?tid=2346) |
การศึกษาสูตรสารละลายธาตุอาหารพืชที่เหมาะสมในการผลิตผักชีไทยในระบบการปลูกแบบสารละลาย - doa - 03-23-2017 การศึกษาสูตรสารละลายธาตุอาหารพืชที่เหมาะสมในการผลิตผักชีไทยในระบบการปลูกแบบสารละลายธาตุอาหารพืช และคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยว เพทาย กาญจนเกษร, อดุลย์รัตน์ แคล้วคลาด, สุภัค แสงทวี, ศิริจันทร์ อินทร์น้อย, กุลวดี ฐานกาญจน์ และรพีพร ศรีสถิต ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครปฐม และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 การศึกษาสูตรสารละลายธาตุอาหารพืชที่เหมาะสมในการผลิตผักชีไทยในระบบการปลูกแบบสารละลายธาตุอาหารพืช และคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยว ดำเนินการทดลองในโรงเรือนสำหรับปลูกพืชในระบบสารละลายธาตุอาหารพืชของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครปฐม โดยใช้สารละลายธาตุอาหารที่แตกต่างกัน 2 สูตร ได้แก่ สูตร Allen Cooper และสูตร KMITL3วางแผนการทดลองแบบ Complete Randomized Design (CRD) จำนวน 8 ซ้ำ จากผลการทดลองพบว่า การปลูกผักชีไทยในระบบสารละลายธาตุอาหารสูตร KMITL3 และสารละลายธาตุอาหารสูตร Allen Cooper นั้น ให้ผลผลิตรวมต่อโรงเรือนและลักษณะทางการเกษตรต่างๆ ได้แก่ จำนวนกิ่งใบ และความสูงลำต้น ใกล้เคียงกันนอกจากนี้ยังพบว่า ควรเพาะต้นกล้าผักชีไทยในวัสดุปลูก (พีทมอส) ให้มีการงอกและเจริญเติบโตจนมีใบจริง 1 - 2 ใบ ก่อน แล้วจึงทำการย้ายต้นกล้าดังกล่าวไปปลูกในระบบต่อไปก็จะทำให้อัตราการรอดตายของต้นผักชีไทยสูงมากขึ้น
|