การทดสอบเทคโนโลยีการผลิตผักชีไทยให้ปลอดภัยจากสารพิษและจุลินทรีย์ ในพื้นที่นครปฐม - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2557 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=7) +--- เรื่อง: การทดสอบเทคโนโลยีการผลิตผักชีไทยให้ปลอดภัยจากสารพิษและจุลินทรีย์ ในพื้นที่นครปฐม (/showthread.php?tid=2345) |
การทดสอบเทคโนโลยีการผลิตผักชีไทยให้ปลอดภัยจากสารพิษและจุลินทรีย์ ในพื้นที่นครปฐม - doa - 03-23-2017 การทดสอบเทคโนโลยีการผลิตผักชีไทยให้ปลอดภัยจากสารพิษและจุลินทรีย์ ในพื้นที่จังหวัดนครปฐม อดุลย์รัตน์ แคล้วคลาด, เพทาย กาญจนเกษร, สุภัค แสงทวี, ศิริจันทร์ อินทร์น้อย และกุลวดี ฐานกาญจน์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครปฐม ผักชีไทยเป็นพืชผักที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งเพื่อการบริโภคภายในประเทศ และส่งออกต่างประทศ การทดสอบเทคโนโลยีการผลิตผักชีไทยให้ปลอดภัยจากสารพิษในพื้นที่จังหวัดนครปฐมทำการทดลองในแปลงผักชีไทยของเกษตรกรในอำเภอเมือง และอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ระหว่างเดือนตุลาคม 2556 – กันยายน 2557 พบว่าการผลิตผักชีไทยระหว่างกรรมวิธีทดสอบและกรรมวิธีของเกษตรกรพบว่า กรรมวิธีของเกษตรกรให้ผลผลิตรวมเฉลี่ย 1,198 กก./ไร่ กรรมวิธีทดสอบให้ผลผลิตรวมเฉลี่ย 1,201 กก./ไร่ ส่วนการเปรียบเทียบข้อมูลด้านเศรษฐศาสตร์ มีความใกล้เคียงกันทั้งสองกรรมวิธี โดยกรรมวิธีของเกษตรกร มีค่า BCR เฉลี่ยเท่ากับ 2.80 ส่วนกรรมวิธีทดสอบ มีค่า BCR เฉลี่ยเท่ากับ 3.00 และจากการสุ่มตัวอย่างผลผลิตเพื่อตรวจสอบการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในผลผลิตพบว่า มีสารพิษตกค้างในกรรมวิธีของเกษตรกร ตรวจพบสาร cypermethrin 0.01, 0.16 mg/kg และ chorpyrifos 0.02, 0.04 mg/kg ซึ่งเกินค่ามาตรฐาน ส่วนกรรมวิธีทดสอบไม่พบสารพิษตกค้างในผลผลิต สำหรับการตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนจุลินทรีย์ในผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว จากการทดลองไม่พบการปนเปื้อนจุลินทรีย์ ทั้งกรรมวิธีทดสอบและกรรมวิธีเกษตรกร
|