คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
ศึกษาเทคโนโลยีการเพาะเห็ดร่างแหในภาคเหนือ - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2557 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=7)
+--- เรื่อง: ศึกษาเทคโนโลยีการเพาะเห็ดร่างแหในภาคเหนือ (/showthread.php?tid=2319)



ศึกษาเทคโนโลยีการเพาะเห็ดร่างแหในภาคเหนือ - doa - 03-10-2017

ศึกษาเทคโนโลยีการเพาะเห็ดร่างแหในภาคเหนือ
สุทธินี เจริญคิด, วิภาดา แสงสร้อย, คณิศร มนุษย์สม, สากล มีสุข และสุวลักษณ์ ชัยชูโชติ
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ และสำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ

          การศึกษาเทคโนโลยีการเพาะเห็ดร่างแหในภาคเหนือ ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2555 - กันยายน 2557 โดยศึกษาชนิดอาหารเชื้อขยาย วิธีการหมักวัสดุ และวิธีการเพาะเห็ดผลการทดลองพบว่า เชื้อเห็ดสามารถเจริญได้บนอาหารเชื้อขยาย 3 สูตร คือ 1) เมล็ดข้าวฟ่าง   2) ขี้เลื่อย 78% รำละเอียด 20% ยิปซั่ม  2%  และ 3) ขี้เลื่อย 67% รำละเอียด 30% หินฟอสเฟต 2% และโดโลไมท์ 1% แต่อาหารเชื้อขยายเกิดเชื้อราปนเปื้อนสูงเนื่องจากเชื้อเห็ดร่างแหเจริญได้ช้า และเมล็ดข้าวฟ่างเน่าง่ายหากวัสดุเพาะมีความชื้นสูง  ส่วนการเตรียมวัสดุเพาะใช้ฟางข้าว ผสมปุ๋ยคอก รำละเอียด  ยิปซั่ม ดีเกลือ และปูนขาว อัตรา 100:10:5:2:2:1  หมักนาน 5 - 6 วัน ก่อนนำไปใช้ สำหรับวิธีการเพาะเห็ดร่างแหพบว่า การเพาะแบบฝังก้อน การเพาะแบบเห็ดฟางกองเตี้ย การเพาะแบบวิธีดร.อานนท์ เอื้อตระกูล เส้นใยเห็ดสามารถเจริญเติบโตได้ แต่ยังไม่สามารถกระตุ้นให้สร้างดอกเห็ดได้ ทั้งนี้อาจมีสภาพแวดล้อมอื่นที่ต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไป