เปรียบเทียบพันธุ์มันเทศเนื้อผสมสองสีเพื่อการบริโภคสด - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2557 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=7) +--- เรื่อง: เปรียบเทียบพันธุ์มันเทศเนื้อผสมสองสีเพื่อการบริโภคสด (/showthread.php?tid=2316) |
เปรียบเทียบพันธุ์มันเทศเนื้อผสมสองสีเพื่อการบริโภคสด - doa - 03-10-2017 เปรียบเทียบพันธุ์มันเทศเนื้อผสมสองสีเพื่อการบริโภคสด ณรงค์ แดงเปี่ยม, ปัญญา ธยามานนท์, ทวีป หลวงแก้ว, เสงี่ยม แจ่มจำรูญ และนรินทร์ พูลเพิ่ม ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 การเปรียบเทียบพันธุ์มันเทศเนื้อผสมสองสีเพื่อการบริโภคสดดำเนินการที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร วางแผนการทดลองแบบ Randomize complete block design 3 ซ้ำ จำนวน 10 พันธุ์ ในปี พ.ศ. 2556 - 2557 โดยผลผลิตเฉลี่ยทั้ง 2 ปี พบว่ามันเทศพันธุ์ พจ.292-15 หัวมีผิวสีแดง เนื้อสีเหลืองปนม่วง ให้ผลผลิตสูงสุด 4,380 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นหัวขนาดใหญ่ 60.78% หัวขนาดกลาง 33.93% หัวขนาดเล็ก 5.43% รองมาเป็นพันธุ์ญี่ปุ่น#4 หัวมีผิวสีเหลือง เนื้อสีส้มปนม่วง ให้ผลผลิต 3,913 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นหัวขนาดใหญ่ 67.21% หัวขนาดกลาง 26.11% หัวขนาดเล็ก 6.68% และพันธุ์ ลี้ลำพูน หัวมีผิวสีแดง เนื้อสีขาวส้มให้ผลผลิต 3,546 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นหัวขนาดใหญ่ 51.91% หัวขนาดกลาง 33.51% หัวขนาดเล็ก 14.59% ต่ำสุดเป็นพันธุ์ PROC VSP 6-7 หัวมีผิวสีม่วง เนื้อสีขาวปนม่วง ให้ผลผลิต 2,306 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นหัวขนาดใหญ่ 57.51% หัวขนาดกลาง 32.24% หัวขนาดเล็ก 10.25 % สามารถคัดเลือกพันธุ์มันเทศเนื้อผสมสองสีที่ให้ผลผลิตสูง 3 พันธุ์ คือ พจ.292-15 ญี่ปุ่น#4 และ ลี้ลำพูน เพื่อปลูกทดสอบต่อไป
|