คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร
การพัฒนาเทคนิคการใช้เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ควบคุมโรคเหี่ยวเขียวของมันฝรั่งในระดับเกษตร - printable_version

+- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research)
+-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1)
+--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2557 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=7)
+--- เรื่อง: การพัฒนาเทคนิคการใช้เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ควบคุมโรคเหี่ยวเขียวของมันฝรั่งในระดับเกษตร (/showthread.php?tid=2310)



การพัฒนาเทคนิคการใช้เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ควบคุมโรคเหี่ยวเขียวของมันฝรั่งในระดับเกษตร - doa - 03-07-2017

การพัฒนาเทคนิคการใช้เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ควบคุมโรคเหี่ยวเขียวของมันฝรั่งในระดับเกษตรกร
บูรณี พั่ววงษ์แพทย์, ณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล, ทิพวรรณ กันหาญาติ, รุ่งนภา ทองเคร็ง และวิวัฒน์ ภานุอำไพ
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเชียงใหม่ สำนักวิจัยพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1

          การทดสอบประสิทธิภาพและวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์ Bacillus subtilis สายพันธุ์ดินรากยาสูบ no.4 แบบผง (Bs) ในการควบคุมโรคเหี่ยวเขียวของมันฝรั่งที่มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum (Rs) โดยทำการทดสอบที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ในปี 2555 ทดสอบอัตราที่เหมาะสมในการควบคุมโรคเหี่ยวเขียวพบว่า การรด Bs อัตรา 30, 40, 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร และการใส่ Bs อัตรา 1 กรัม/หลุม ทุก 7 วัน สามารถลดการเกิดโรคได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใช้ Bs  และการรด Bs อัตรา 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ควบคุมการเกิดโรคเหี่ยวได้ดีที่สุด  ในปี 2556 ทดสอบวิธีการใช้ Bs ที่เหมาะสมในการควบคุมโรคเหี่ยวเขียวพบว่า การแช่หัวพันธุ์ การรองก้นหลุม และการคลุกหัวพันธุ์มันฝรั่งก่อนปลูก และรด Bs อัตรา 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน สามารถลดการเกิดโรคได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใช้ Bs  ในปี 2557 ทดสอบประสิทธิภาพของ Bs ในสภาพแปลงทดลองพบว่า แปลงที่แช่หัวพันธุ์ และรด Bs อัตรา 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน มันฝรั่งเป็นโรคเหี่ยว 28.5 เปอร์เซ็นต์ และแปลงเปรียบเทียบ (control) เป็นโรคเหี่ยว 74.5 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่า Bs มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคเหี่ยวของมันฝรั่งในแปลงที่มีการระบาดของโรคเหี่ยว