การศึกษาเทคนิคทางสถิติเพื่อใช้เป็นมาตรฐานสำหรับแปลงทดลองปัญจขันธ์ - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2557 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=7) +--- เรื่อง: การศึกษาเทคนิคทางสถิติเพื่อใช้เป็นมาตรฐานสำหรับแปลงทดลองปัญจขันธ์ (/showthread.php?tid=2305) |
การศึกษาเทคนิคทางสถิติเพื่อใช้เป็นมาตรฐานสำหรับแปลงทดลองปัญจขันธ์ - doa - 03-07-2017 การศึกษาเทคนิคทางสถิติเพื่อใช้เป็นมาตรฐานสำหรับแปลงทดลองปัญจขันธ์ ไกรศร ตาวงศ์, พุฒนา รุ่งระวี, จันทรา บดีศร, อุไรวรรณ นาสพัฒน์, ชลธิชา เตโช, วิสุทธิดา ศรีดวงโชติ, เตือนใจ พุดชัง, สมพร วนะสิทธิ์ และจรัญ ดิษฐไชยวงศ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร และกองแผนงานและวิชาการ การศึกษาเทคนิคทางสถิติเพื่อใช้เป็นมาตรฐานสำหรับแปลงทดลองปัญจขันธ์ ได้ดำเนินการทดลองที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร จ.พิจิตร ตั้งแต่ปี 2556 - 2557 โดยปลูกปัญจขันธ์พันธุ์พื้นเมือง มีขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 20 เมตร จำนวน 4 แปลง ใช้ระยะปลูกระหว่างแถว 50 เซนติเมตร ระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระยะระหว่างแปลง 50 เซนติเมตร เก็บเกี่ยวผลผลิตของแต่ละแปลงโดยตัดหัวและท้ายแปลงออกด้านละ 1 เมตร แล้วเก็บเกี่ยวที่เหลือเป็นหน่วยย่อย (Basic Unit) ให้ 1 หน่วยย่อย กว้าง 1 เมตร ยาว 50 เซนติเมตร เก็บทั้งหมดติดต่อกันตลอดแปลง แต่ละแปลงมี 36 หน่วยย่อย ชั่งน้ำหนักสดแต่ละหน่วยย่อย แต่ละแปลงนำข้อมูลผลผลิตที่ได้มาวิเคราะห์ผลทางสถิติ โดยการนำน้ำหนักผลผลิตสดทั้ง 36 หน่วยย่อยมาจัดเป็นขนาดพื้นที่ต่างๆ กันได้ 8 ขนาด ในแต่ละขนาดคำนวณหาค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าความแปรปรวน (Variance) และค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน (Coefficient 0f Variation : C.V.) และหาความสัมพันธ์ระหว่างขนาดพื้นที่ของแปลงทดลองกับค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวนในรูปแบบสมการ y = aX(b) เมื่อ y = ค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน (C.V.) X = พื้นที่เก็บเกี่ยว (Plot Size) a = ค่าคงที่ b = ค่าสัมประสิทธิ์ของรีเกรสชั่น (Regression Coefficient) จากสมการของความสัมพันธ์แต่ละแปลงจำนวน 4 แปลง เพื่อหาขนาดพื้นที่เก็บเกี่ยวที่เหมาะสม โดยพิจารณาจากช่วงเปลี่ยนโค้งของเส้นกราฟระหว่างพื้นที่เก็บเกี่ยวกับค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวนเริ่มมีค่าคงที่ หรือที่อัตราการทดลองของค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวนต่อการเพิ่มขนาดพื้นที่เก็บเกี่ยวเป็นหนึ่งต่อสอง ทั้ง 2 ปี พบว่าขนาดพื้นที่แปลงที่เหมาะสม (Optimum Plot Size) สำหรับเกี่ยวเกี่ยวผลผลิตในงานทดลองปัญจขันธ์ สำหรับใช้เป็นมาตรฐานซึ่งมีระยะปลูกระหว่างแถว 50 เซนติเมตร ระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ควรใช้พื้นที่เก็บเกี่ยวไม่น้อยกว่า 9 ตารางเมตร ทั้งนี้ไม่รวมแถวริม
|