สถานการณ์การระบาดและการจัดการวัชพืชต้านทานสารกำจัดวัชพืชกลุ่มยับยั้งเอนไซม์ ACCase - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2554 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=4) +--- เรื่อง: สถานการณ์การระบาดและการจัดการวัชพืชต้านทานสารกำจัดวัชพืชกลุ่มยับยั้งเอนไซม์ ACCase (/showthread.php?tid=230) |
สถานการณ์การระบาดและการจัดการวัชพืชต้านทานสารกำจัดวัชพืชกลุ่มยับยั้งเอนไซม์ ACCase - doa - 11-02-2015 สถานการณ์การระบาดและการจัดการวัชพืชต้านทานสารกำจัดวัชพืชกลุ่มยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ ACCase จรรยา มณีโชติ, วนิดา ธารถวิล, สุพัตรา ชาวกงจักร, ยุรวรรณ อนันตนมณี และสิริชัย สาธุวิจารณ์ กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 ผลการสำรวจวัชพืชต้านทานในกลุ่มยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ ACCase ในระหว่างเดือนตุลาคม 2553 – มีนาคม 2555 พบวัชพืชต้านทานต่อสารกำจัดวัชพืชในกลุ่มยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ ACCase ในปี 2554 จำนวน 60 ประชากร พบว่า เป็นหญ้าดอกขาว 11 ประชากร และหญ้าข้าวนก 49 ประชากร เมื่อนำมาทดสอบระดับความต้านทานต่อสารกำจัดวัชพืช fenoxaprop-pethyl พบว่า หญ้าดอกขาว 11 ประชากร สามารถแบ่งเป็นประชากรไม่ต้านทาน 5 ประชากร ประชากรกำลังพัฒนาความต้านทาน 3 ประชากร และประชากรต้านทาน 3 ประชากร ส่วนหญ้าข้าวนก 49 ประชากร สามารถแบ่งเป็นประชากรไม่ต้านทาน 0 ประชากร ประชากรกำลังพัฒนาความต้านทาน 20 ประชากร และประชากรต้านทาน 13 ประชากร และประชากรต้านระดับสูง 16 ประชากร คิดเป็น 0.0, 40.8, 26.5 และ 32.6 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ อย่างไรก็ตามไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นของวัชพืชในแปลงและการเกิดความต้านทานต่อสารกำจัดวัชพืช fenoxaprop-p-ethyl ซึ่งจะได้ดำเนินการทดสอบการเกิด Cross- และ Multiple resistance ต่อสารกำจัดวัชพืชชนิดอื่นๆ ในประชากรดังกล่าวต่อไป
|