การเพิ่มประสิทธิภาพการงอกของเมล็ดพันธุ์ปัญจขันธ์พันธุ์สิบสองปันนา - printable_version +- คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร (https://www.doa.go.th/research) +-- คลังข้อมูล: รายงานผลงานวิจัยและพัฒนา (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=1) +--- คลังข้อมูล: ผลงานวิจัยและพัฒนา ปี 2557 (https://www.doa.go.th/research/forumdisplay.php?fid=7) +--- เรื่อง: การเพิ่มประสิทธิภาพการงอกของเมล็ดพันธุ์ปัญจขันธ์พันธุ์สิบสองปันนา (/showthread.php?tid=2297) |
การเพิ่มประสิทธิภาพการงอกของเมล็ดพันธุ์ปัญจขันธ์พันธุ์สิบสองปันนา - doa - 02-17-2017 การเพิ่มประสิทธิภาพการงอกของเมล็ดพันธุ์ปัญจขันธ์พันธุ์สิบสองปันนา วิมล แก้วสีดา, วัชรพล บำเพ็ญอยู่, ปฏิพัทธ์ ใจปินล, ศศิธร วรปิติรังสี และวีระ วรปิติรังสี ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย สถาบันวิจัยพืชสวน การศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการงอกของเมล็ดพันธุ์ปัญจขันธ์พันธุ์สิบสองปันนา ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย ตั้งแต่ตุลาคม 2555 ถึงกันยายน 2557 เพื่อหาวิธีการเพิ่มเปอร์เซ็นต์การงอกของเมล็ดพันธุ์ปัญจขันธ์พันธุ์สิบสองปันนา โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB 5 กรรมวิธี 4 ซ้ำ ซ้ำละ 100 เมล็ด ได้นำผลที่สุกแก่เต็มที่ซึ่งมีเปลือกสีดำมากะเทาะเปลือกออก นำเมล็ดมาเพิ่มประสิทธิภาพการงอกด้วยกรรมวิธีต่างๆ พบว่า การแช่เมล็ดในน้ำที่อุณหภูมิห้อง นาน 2 คืน มีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงสุด 93.5% รองลงมา คือ การอบเมล็ดที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5 ชั่วโมง และการตากแดด นาน 7 วัน มีเปอร์เซ็นต์การงอก 88.8% กรรมวิธีไม่ปฏิบัติการใดๆ มีเปอร์เซ็นต์การงอก 30.5% ส่วนกรรมวิธีการแช่เมล็ดในน้ำที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส เมล็ดไม่งอกทั้ง 4 ซ้ำ และศึกษาการเปรียบเทียบผลผลิตของปัญจขันธ์ที่ได้จากการปลูกโดยใช้ต้นกล้าจากการปักชำ และต้นกล้าที่ได้จากการเพาะเมล็ด โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB 2 กรรมวิธี 13 ซ้ำ ในรุ่นแรกเก็บเกี่ยวเดือนเมษายน 2557 พบว่ากรรมวิธีการปักชำได้ผลผลิตทั้งน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้ง 3,009.2 และ 336.5 กก./ไร่ ตามลำดับ ซึ่งมากกว่ากรรมวิธีการเพาะเมล็ดได้ผลผลิตทั้งน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้ง 2,643.1 และ 296.1 กก./ไร่ ตามลำดับ และผลผลิตในรุ่นที่ 2 ซึ่งเก็บเกี่ยวในเดือนสิงหาคม 2557 พบว่ากรรมวิธีการเพาะเมล็ด ได้ผลผลิตทั้งน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้ง 3,107.7 และ 358 กก./ไร่ ตามลำดับ ซึ่งมากกว่ากรรมวิธีการปักชำได้ผลผลิตทั้งน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้ง 2,950.8 และ 331.8 กก./ไร่ ตามลำดับ
|